16 ก.พ. 2556

ต้นทานตะวัน อีกร้อยปี อนาคตจะเป็นอย่างไร

alt=ทานตะวันบาน
ย้อนเวลาไปเมื่อสี่ห้าปีก่อน ผมมีโอกาสได้ไปร่วมเปิดงานทุ่งทานตะวันบาน ณ อำเภอแห่งหนึ่ง ของสระบุรี งานครั้งนั้นใช้พื้นที่ปลูกทานตะวันบริเวณกลางหุบเขา จำนวนหลายร้อยไร่ พื้นที่เชิงเขาถูกเนรมิตให้เป็นทะเลสีเหลือง เมื่อมองออกไปสุดสายตา สีเหลืองของดอกทานตะวันสวยงามมาก เมื่อยามที่แสงของดวงตะวัน ตกกระทบกับกลีบสีเหลืองของดอกทานตะวัน

ปัจจุบันประเทศไทยจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แต่ก็เป็นเพียงในระยะสั้นๆ แค่ช่วงปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ผลผลิตที่ได้ พื้นที่ปลูก ไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่าย ราคาของเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูงปัจจุบันพืชชนิดนี้ก็ยังไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจในระดับแนวหน้า อย่างพืชจำพวก อ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั้งข้าวโพด

ทานตะวันเป็นพืชที่ให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอล ที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด แต่ก็น่าแปลกใจ ว่าทำไมทานตะวันถึงไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจชั้นนำเทียบเท่า อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง สักที


ถึงแม้ทานตะวันจะเป็นพืชที่มีการส่งเสริมให้ปลูกเพื่อเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น พื้นที่ปลูกก็ยังอยู่ในวงแคบๆมีไม่กี่จังหวัด อย่างเช่น จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งที่ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก ก็นับเวลาก็เกิน 200 กว่าปีมาแล้ว พืชตัวนี้มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 เดือน ทนฟ้าทนฝนมากกว่าพืชบางชนิดเสียอีก แต่กับไม่เป็นที่นิยมในการที่จะพัฒนาให้เป็นพืชแนวหน้าที่เกษตรกรไทย ที่จะต้องนึกถึงทานตะวันก่อนพืชชนิดอื่นเสียอีก

การนำการตลาดที่ควบคู่กับการวางแผนการปลูกทานตะวัน ไม่ให้ปลูกพร้อมกัน เพื่อให้ดอกทานตะวันบานไม่พร้อมกัน พร้อมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่พบเห็นได้นั้นก็คือ การขายดอกทานตะวัน เมล็ดทานตะวัน รวมถึงการเก็บค่าผ่านในการเข้าไปชมอย่างใกล้ชิดในไร่ทานตะวัน แต่ก็ยังเป็นเพียงบางส่วนของพื้นที่ ที่ปลูกทานตะวัน พื้นที่บริเวณไหน ไม่ใกล้กับเส้นทางคมนาคม เกษตรกรทั่วๆไปจึงไม่นิยมที่จะปลูกทานตะวัน

ทำไมหรือ? แม้แต่ผมก็ยังลังเลที่จะปลูก พื้นที่อยู่ไกล ไม่ใกล้ถนน ที่สำคัญราคาของผลิตต่อไร่ ไม่น่าสนใจ รัฐส่งเสริมให้ปลูกแต่ราคาผลผลิตยังสวนทางกัน จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าทำไมพื้นที่ปลูกทานตะวัน ไม่เพิ่มจำนวนไปมากกว่านี้ บางจังหวัดในภาคกลาง และบางจังหวัดในภาคอีสาน ที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวก็จะมีการปลูกทานตะวัน ไม่ได้เน้นผลผลิต เน้นผลประโยชน์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชม ไปถ่ายรูป ก็ยิ่งทำให้พื้นที่จะปลูกทานตะวันเพื่อการค้า และเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ ลดจำนวนน้อยลงไปอีก

ในระยะยาวๆหรือในอนาคต ถ้าไม่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างจริงๆจังๆ ราคาผลผลิต ราคาเมล็ดพันธุ์ ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน จะต้องมีแนวทางการเพิ่มมูลค่าไปมากกว่านี้ และต้องไม่เป็นไปในทิศทางที่สวนทางกัน เกษตรกรไทยจะได้มีทางเลือก ถ้าไม่งั้นพื้นที่เคยปลูกทานตะวัน ก็จะกลายเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานกันต่อไป ต้นยางพารานี้ ต้นปาล์มน้ำมันนั้น เมื่อก่อนเคยเป็นพื้นที่ปลูกทานตะวันมาก่อน…

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น