ใกล้ปีใหม่ของทุกปี มักจะได้ยินได้เห็นเหตุการณ์ไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้โรงงาน ไฟไหม้บ้านเรือน และอีกหลายที่หลายแห่ง ผู้กระทำผิด มักจะไม่พ้น ไฟฟ้าลัดวงจร ตกเป็นแพะรับบาปทุกที 555
ถ้าตามบ้านนอกบ้านนา ไฟไหม้ที่พบบ่อยๆ ส่วนใหญ่ก็คือการที่ชาวนา เผาฟาง เพื่อที่จะจัดเตรียมพื้นที่ สำหรับการไถดิน เป็นการเริ่มต้นของการปลูกข้าวรอบใหม่(พื้นที่มีน้ำชลประทาน) ซึ่งในอดีตเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผลกระทบของการเผาฟาง อย่างแรก ควันไฟที่ลอยไปในอากาศ อย่างที่สองก็คือเขม่าสีดำที่ลอยไปตกหลังคาบ้านเรือน ปลิวเข้าไปตกตามพื้นบ้าน หล่นตามเสื้อผ้า ปัจจุบันอาจจะพบน้อยลง เนื่องจากมีการรณรงค์ให้ชาวนาไถกลบตอซังข้าว เพื่อให้ย่อยสลายไปในดิน สุดท้ายกลายเป็นอาหารเป็นปุ๋ยของต้นข้าว ต่อไป
สำหรับพืชไร่ ที่มักจะพบบ่อย นั้นก็คือการทำไร่อ้อย พอถึงฤดูเก็บเกี่ยว ทางโรงงานน้ำตาล ก็จะเปิดโรงงาน เพื่อรับอ้อยที่จะตัดป้อนเข้าโรงงาน คนงานก็จะทำหน้าที่ตัดอ้อยแล้วมัดเรียง เพื่อสะดวกในการใช้รถคีบมัดอ้อยขึ้นรถบรรทุกสิบล้อพ่วงอีกที และก่อนหน้านั้น คนงานจะทำการเผาต้นอ้อย เพื่อจะสะดวกในการตัดอ้อย บางพื้นที่นอกจากจะรกไปด้วยใบอ้อย ซึ่งใบอ้อยมีความคม สามารถบาดผิวหนังให้เป็นแผลได้ นอกจากปัญหาเรื่องใบอ้อยแล้ว ยังมีมีปัญหาเรื่องของหมามุ้ย เมื่อไปถูกหรือสัมผัส ก็จะเกิดอาการคัน ไม่สามารถทำงานต่อได้เลย
ถึงแม้การเผาอ้อย จะทำให้คุณภาพของน้ำตาลที่อยู่ในอ้อยลดลง เจ้าของไร่อ้อยก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ การเผาอ้อยเป็นวิธีการเดียวที่ คนงานตัดอ้อย จะยอมทำงานให้ ถึงขนาดบางแห่งบางที่ ถ้าไม่เผาอ้อยก่อน ก็จะไม่ยอมตัดอ้อย นี้คือปัญหาที่เจ้าของไร่อ้อย แก้ปัญหาไม่ตก การเอาใจคนงาน มันเป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อนมากๆๆๆ
เมื่อโรงงานน้ำตาลเปิดแล้ว สิ่งที่ได้เห็นปรากฏการณ์ในยามค่ำคืน ถ้าเรามองออกไปยังพื้นที่รอบๆ ก็จะพบแสงสว่าง ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน แสงสว่างที่ลุกโชติช่วงสูงขึ้นไปในท้องฟ้านั้น แสดงว่าพื้นที่บริเวณนั้น กำลังเผาไร่อ้อย เพื่อที่จะตัดต้นอ้อย เมื่อยามเช้าเข้ามาเยือน ขณะเดียวกัน ในบางพื้นที่เลือกจะเผาอ้อย ในช่วงตอนบ่ายหรือไม่ก็ช่วงเวลาเย็นๆ เราก็จะได้เห็นอีกบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง ได้เห็นเปลวไฟและควันไฟที่น่ากลัว ได้ยินเสียงดังที่เกิดจากไฟกำลังไหม้ใบอ้อย ต้นหญ้า ได้เห็นคนงานตัดอ้อยกำลังวิ่งไล่ กระต่าย ที่กำลังวิ่งหนีความตายจากกองไฟ วิ่งหนีความตายจากคนงาน ที่วิ่งไล่หมายจะจับไปทำอาหาร มันช่างเป็นภาพชีวิตที่น่าตื่นเต้นยิ่งนัก
ปัจจุบันการเผาไร้อ้อย อาจจะหมดไป หรืออาจจะหมดไปในอนาคต ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อม ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป คนงานที่รับจ้างตัดอ้อยลดน้อยลง ประกอบกับค่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ที่สูงขึ้น ทำให้เจ้าของโควต้าอ้อย ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก หลายร้อยไร่ พันไร่ ไม่สามารถหาคนงาน มาตัดต้นอ้อยได้ จึงทำให้เกิดการนำรถตัดอ้อยเข้ามาใช้แทนคน เพื่อทดแทนแรงงานจากคน และถ้าในอนาคตคนงานในภาคเกษตรกรรม ลดลง หรือค่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสูงเพิ่มขึ้น เราเองก็ต้องยอมรับ ยอมรับว่าเครื่องจักร เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และเข้ามาแทนที่คนเพิ่มขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…
ถ้าตามบ้านนอกบ้านนา ไฟไหม้ที่พบบ่อยๆ ส่วนใหญ่ก็คือการที่ชาวนา เผาฟาง เพื่อที่จะจัดเตรียมพื้นที่ สำหรับการไถดิน เป็นการเริ่มต้นของการปลูกข้าวรอบใหม่(พื้นที่มีน้ำชลประทาน) ซึ่งในอดีตเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผลกระทบของการเผาฟาง อย่างแรก ควันไฟที่ลอยไปในอากาศ อย่างที่สองก็คือเขม่าสีดำที่ลอยไปตกหลังคาบ้านเรือน ปลิวเข้าไปตกตามพื้นบ้าน หล่นตามเสื้อผ้า ปัจจุบันอาจจะพบน้อยลง เนื่องจากมีการรณรงค์ให้ชาวนาไถกลบตอซังข้าว เพื่อให้ย่อยสลายไปในดิน สุดท้ายกลายเป็นอาหารเป็นปุ๋ยของต้นข้าว ต่อไป
สำหรับพืชไร่ ที่มักจะพบบ่อย นั้นก็คือการทำไร่อ้อย พอถึงฤดูเก็บเกี่ยว ทางโรงงานน้ำตาล ก็จะเปิดโรงงาน เพื่อรับอ้อยที่จะตัดป้อนเข้าโรงงาน คนงานก็จะทำหน้าที่ตัดอ้อยแล้วมัดเรียง เพื่อสะดวกในการใช้รถคีบมัดอ้อยขึ้นรถบรรทุกสิบล้อพ่วงอีกที และก่อนหน้านั้น คนงานจะทำการเผาต้นอ้อย เพื่อจะสะดวกในการตัดอ้อย บางพื้นที่นอกจากจะรกไปด้วยใบอ้อย ซึ่งใบอ้อยมีความคม สามารถบาดผิวหนังให้เป็นแผลได้ นอกจากปัญหาเรื่องใบอ้อยแล้ว ยังมีมีปัญหาเรื่องของหมามุ้ย เมื่อไปถูกหรือสัมผัส ก็จะเกิดอาการคัน ไม่สามารถทำงานต่อได้เลย
ถึงแม้การเผาอ้อย จะทำให้คุณภาพของน้ำตาลที่อยู่ในอ้อยลดลง เจ้าของไร่อ้อยก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ การเผาอ้อยเป็นวิธีการเดียวที่ คนงานตัดอ้อย จะยอมทำงานให้ ถึงขนาดบางแห่งบางที่ ถ้าไม่เผาอ้อยก่อน ก็จะไม่ยอมตัดอ้อย นี้คือปัญหาที่เจ้าของไร่อ้อย แก้ปัญหาไม่ตก การเอาใจคนงาน มันเป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อนมากๆๆๆ
เมื่อโรงงานน้ำตาลเปิดแล้ว สิ่งที่ได้เห็นปรากฏการณ์ในยามค่ำคืน ถ้าเรามองออกไปยังพื้นที่รอบๆ ก็จะพบแสงสว่าง ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน แสงสว่างที่ลุกโชติช่วงสูงขึ้นไปในท้องฟ้านั้น แสดงว่าพื้นที่บริเวณนั้น กำลังเผาไร่อ้อย เพื่อที่จะตัดต้นอ้อย เมื่อยามเช้าเข้ามาเยือน ขณะเดียวกัน ในบางพื้นที่เลือกจะเผาอ้อย ในช่วงตอนบ่ายหรือไม่ก็ช่วงเวลาเย็นๆ เราก็จะได้เห็นอีกบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง ได้เห็นเปลวไฟและควันไฟที่น่ากลัว ได้ยินเสียงดังที่เกิดจากไฟกำลังไหม้ใบอ้อย ต้นหญ้า ได้เห็นคนงานตัดอ้อยกำลังวิ่งไล่ กระต่าย ที่กำลังวิ่งหนีความตายจากกองไฟ วิ่งหนีความตายจากคนงาน ที่วิ่งไล่หมายจะจับไปทำอาหาร มันช่างเป็นภาพชีวิตที่น่าตื่นเต้นยิ่งนัก
ปัจจุบันการเผาไร้อ้อย อาจจะหมดไป หรืออาจจะหมดไปในอนาคต ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อม ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป คนงานที่รับจ้างตัดอ้อยลดน้อยลง ประกอบกับค่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ที่สูงขึ้น ทำให้เจ้าของโควต้าอ้อย ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก หลายร้อยไร่ พันไร่ ไม่สามารถหาคนงาน มาตัดต้นอ้อยได้ จึงทำให้เกิดการนำรถตัดอ้อยเข้ามาใช้แทนคน เพื่อทดแทนแรงงานจากคน และถ้าในอนาคตคนงานในภาคเกษตรกรรม ลดลง หรือค่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสูงเพิ่มขึ้น เราเองก็ต้องยอมรับ ยอมรับว่าเครื่องจักร เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และเข้ามาแทนที่คนเพิ่มขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น