เมื่อหลายปีก่อน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปลูกต้นยูคา ในพื้นที่ว่างเปล่า ไม่ว่าจะเป็นหัวคันนา ริมบ่อน้ำ แม้กระทั้งพื้นที่ไร่พื้นที่สวนรกร้าง ให้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นามว่า “ต้นกระดาษ”ด้วยกลยุทธทางการค้าแบบพื้นๆ รับซื้อผลผลิตในราคารับประกัน…
ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าผมจะมองไปทางไหน เห็นแต่ต้นยูคา ขึ้นเต็มไปหมด โดยเฉพาะตามหัวไร่ ปลายคันนา แน่นอน รัฐส่งเสริมให้ปลูก เราต้องเชื่อ แจกต้นกล้าฟรี โฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่เรื่องดีดี เรายิ่งมั่นใจ…กว่าจะรู้อีกทีก็หลายปีผ่านไป…ตู ไม่น่าปลูกเลย ฮ่าๆๆๆๆ
ผมเองก็เอากับเขาด้วย ปลูกบนพื้นที่ไร่ พื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลัง มาก่อน ก็ปลูกไม่มากไม่น้อย จำนวน 1,000 ต้น เหตุผลหลักๆ ก็คือ ปลูกยูคาแล้วไม่ต้องดูแลมาก ให้น้ำน้อย ให้น้ำมากก็ช่วงเวลาที่ต้นยังเล็กๆ ปุ๋ยก็ไม่ต้องใส่ ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 ปี ขายลำต้นเพื่อส่งโรงงานผลิตกระดาษ ก็ได้เงินใช้ หรือจะตัดลำต้น ตามขนาด แล้ววางขายข้างริมทาง ก็คงจะพอได้เงินบ้าง
สามปีผ่านมา ผมเริ่มสนใจที่จะปลูกผักหวานป่า ก็เลยให้ชาวบ้าน ในพื้นที่ขึ้นไปหาเมล็ดผักหวานป่าจากภูเขา มาขายให้ พอดีมีพื้นที่ว่างเปล่า ใกล้กับพื้นที่ปลูกต้นยูคา เนื้อที่สักประมาณ 1งาน…เอาละปลูกผักหวานป่านี้แหละ หกเดือนผ่านมา จึงได้รู้ว่าต้นผักหวานป่าที่ปลูกใกล้ๆกับต้นยูคา(ห่างประมาณ 2เมตร) ไม่โตแถมยังมีอาการใบเหลือง ทำท่าจะตายเสียให้ได้ เลยลองขุดดินลึกประมาณ 1 ฟุต ฝั่งทางด้านต้นยูคา โอ้โฮ้…รากของต้นยูคาเต็มไปหมด
ไม่แปลกใจเลยที่เกษตรกรภาคอีสาน ตัดต้นยูคาทิ้ง แล้วหันมาปลูกต้นยางแทน จากเกษตรที่หาเช้ากินค่ำ กลายมาเป็นเกษตรกรที่เก็บเงินไปฝากธนาคาร ถอยรถใหม่ป้ายแดง ส่งลูกเรียนสูงๆ…คนอีสานเปลี่ยนไป ส่วนผมเองต้องตัดต้นยูคาขายได้เงินไม่กี่บาท เสียเงินไปกับการว่าจ้างรถขุด เพื่อขุดเอารากของต้นยูคาออก หมดเงินไปหลายตังต์ งานนี้ขาดทุน…ไม่น่าเลย
ความจริงทางด้านบวกของต้นยูคา ผมเองก็ได้ประโยชน์จากต้นยูคาหลายอย่างด้วยกัน การนำใบของต้นยูคา มาทำสมุนไพรไล่แมลง สำหรับไว้ใช้เองภายในสวน ถึงแม้ต้นยูคา เป็นต้นไม้ซึ่งจัดอยู่ในประเภทไม้เศรษฐกิจ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ตาม แต่ด้วยการที่จะลงทุนปลูกต้นยูคา เพื่อการค้านั้น ต้องใช้เวลาปลูก 3-4 ปี ถึงจะตัดขายได้ แล้วก็ต้องรออีก 3-4 ปี อีกเช่นกัน ถึงจะได้ผลตอบแทนอีกที
เมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อย่างเช่น ปลูกต้นยางพารา ใช้เวลา 7-8 ปี ให้ผลตอบแทนเดือนๆหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 15วันๆละหลายหมื่นบาท และต้นยางให้ผลผลิตนานถึง 20-30 ปี ถ้าเราบำรุงรักษาดี
เห็นไหมละ อนาคตของต้นยูคา ไม่สดใสอย่างที่คิด ต่อให้รัฐฯส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก อย่างเต็มที่ ก็คงไม่ทำให้ชาวเกษตรกรหันมาสนใจ และให้ความสำคัญเหมือนเมื่อก่อน สุดท้าย เราก็คงต้องลบชื่อต้นยูคาหรือต้นกระดาษ ออกจากพืชเศรษฐกิจ อย่างถาวร…ลาก่อนยูคา…ไม้เศรษฐกิจเมื่อวันวาน
ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าผมจะมองไปทางไหน เห็นแต่ต้นยูคา ขึ้นเต็มไปหมด โดยเฉพาะตามหัวไร่ ปลายคันนา แน่นอน รัฐส่งเสริมให้ปลูก เราต้องเชื่อ แจกต้นกล้าฟรี โฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่เรื่องดีดี เรายิ่งมั่นใจ…กว่าจะรู้อีกทีก็หลายปีผ่านไป…ตู ไม่น่าปลูกเลย ฮ่าๆๆๆๆ
ผมเองก็เอากับเขาด้วย ปลูกบนพื้นที่ไร่ พื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลัง มาก่อน ก็ปลูกไม่มากไม่น้อย จำนวน 1,000 ต้น เหตุผลหลักๆ ก็คือ ปลูกยูคาแล้วไม่ต้องดูแลมาก ให้น้ำน้อย ให้น้ำมากก็ช่วงเวลาที่ต้นยังเล็กๆ ปุ๋ยก็ไม่ต้องใส่ ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 ปี ขายลำต้นเพื่อส่งโรงงานผลิตกระดาษ ก็ได้เงินใช้ หรือจะตัดลำต้น ตามขนาด แล้ววางขายข้างริมทาง ก็คงจะพอได้เงินบ้าง
สามปีผ่านมา ผมเริ่มสนใจที่จะปลูกผักหวานป่า ก็เลยให้ชาวบ้าน ในพื้นที่ขึ้นไปหาเมล็ดผักหวานป่าจากภูเขา มาขายให้ พอดีมีพื้นที่ว่างเปล่า ใกล้กับพื้นที่ปลูกต้นยูคา เนื้อที่สักประมาณ 1งาน…เอาละปลูกผักหวานป่านี้แหละ หกเดือนผ่านมา จึงได้รู้ว่าต้นผักหวานป่าที่ปลูกใกล้ๆกับต้นยูคา(ห่างประมาณ 2เมตร) ไม่โตแถมยังมีอาการใบเหลือง ทำท่าจะตายเสียให้ได้ เลยลองขุดดินลึกประมาณ 1 ฟุต ฝั่งทางด้านต้นยูคา โอ้โฮ้…รากของต้นยูคาเต็มไปหมด
ไม่แปลกใจเลยที่เกษตรกรภาคอีสาน ตัดต้นยูคาทิ้ง แล้วหันมาปลูกต้นยางแทน จากเกษตรที่หาเช้ากินค่ำ กลายมาเป็นเกษตรกรที่เก็บเงินไปฝากธนาคาร ถอยรถใหม่ป้ายแดง ส่งลูกเรียนสูงๆ…คนอีสานเปลี่ยนไป ส่วนผมเองต้องตัดต้นยูคาขายได้เงินไม่กี่บาท เสียเงินไปกับการว่าจ้างรถขุด เพื่อขุดเอารากของต้นยูคาออก หมดเงินไปหลายตังต์ งานนี้ขาดทุน…ไม่น่าเลย
ความจริงทางด้านบวกของต้นยูคา ผมเองก็ได้ประโยชน์จากต้นยูคาหลายอย่างด้วยกัน การนำใบของต้นยูคา มาทำสมุนไพรไล่แมลง สำหรับไว้ใช้เองภายในสวน ถึงแม้ต้นยูคา เป็นต้นไม้ซึ่งจัดอยู่ในประเภทไม้เศรษฐกิจ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ตาม แต่ด้วยการที่จะลงทุนปลูกต้นยูคา เพื่อการค้านั้น ต้องใช้เวลาปลูก 3-4 ปี ถึงจะตัดขายได้ แล้วก็ต้องรออีก 3-4 ปี อีกเช่นกัน ถึงจะได้ผลตอบแทนอีกที
เมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อย่างเช่น ปลูกต้นยางพารา ใช้เวลา 7-8 ปี ให้ผลตอบแทนเดือนๆหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 15วันๆละหลายหมื่นบาท และต้นยางให้ผลผลิตนานถึง 20-30 ปี ถ้าเราบำรุงรักษาดี
เห็นไหมละ อนาคตของต้นยูคา ไม่สดใสอย่างที่คิด ต่อให้รัฐฯส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก อย่างเต็มที่ ก็คงไม่ทำให้ชาวเกษตรกรหันมาสนใจ และให้ความสำคัญเหมือนเมื่อก่อน สุดท้าย เราก็คงต้องลบชื่อต้นยูคาหรือต้นกระดาษ ออกจากพืชเศรษฐกิจ อย่างถาวร…ลาก่อนยูคา…ไม้เศรษฐกิจเมื่อวันวาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น