หลายๆท่านที่ชอบทานแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง หรือที่ชาวบ้านชาวช่องเรียกกันว่า แกงต้มเปอะ คนอีสานชอบทานกัน ใครไม่รู้จักส่วนประสมที่ใส่ลงไปในแกงหน่อไม้ ก็คงจะต้องมีการรื้อฟื้นความรู้กันครั้งใหญ่ ผมเองเติบโตมาจากบ้านนอก เป็นลูกอีสานขนานแท้ กินแกงต้มเปอะมาตั้งแต่เด็ก ได้เห็นคุณยายนำใบไม้มาตำ แล้วคั้นเอาน้ำสีเขียวๆ ใส่ลงไปในแกงหน่อไม้ แรกๆเรียกชื่อไม่ถูก ไม่รู้จักหน้าตา ทำไม่เป็นด้วย กว่าจะรู้ และแกงอาหารชนิดนี้เป็น ก็ต้องมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เสียเอง…
ย่านาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อสามัญ : Bamboo grass
วงศ์ : Menispermaceae
ชื่ออื่น : จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)
ย่านาง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
คุณประโยชน์ของใบย่านางนั้นอาจจะมีมากมาย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ใบย่านางนั้นมีประโยชน์อย่างไร ผมเองก็เพิ่งจะรู้เมื่อไม่นานมานี้เอง และรู้โดยบังเอิญ ปัจจุบันก็เริ่มศึกษาและสนใจที่จะปลูก ให้เป็นมุมสมุนไพรที่สามารถเก็บใบย่านาง ไปประกอบอาหาร และทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรได้เลย เมื่อเราต้องการ
ย่านาง นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านาง มีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน
สำหรับสรรพคุณในทางยา ย่านาง ถือว่าเป็นยาฤทธิ์เย็น มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ โดยรากใช้แก้ไข้ทุกชนิด เช่น ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด สุกใส ไข้กาฬ ขับกระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง และแก้เบื่อเมา ส่วนใบและเถา จะใช้แก้ไข้ ลดความร้อน และแก้พิษตานซาง รากย่านางเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ร่วมกับรากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร ท่านที่สนใจจะเจาะลึกถึงสรรพคุณของใบย่านาง อย่างจริงจัง คงจะต้องค้นคว้าเพิ่มเติมนะครับ
เมื่อหลายเดือนก่อน ผมพยายามที่จะขุดต้นใบย่านาง ใส่กระถาง เพื่อไว้ศึกษา แต่ก็ล้มเหลว ปลูกไว้ได้ไม่นาน ต้นย่านางเหี่ยวตายเสียก่อน เลยต้องเปลี่ยนแผนใหม่ เที่ยวนี้ก็เลยรอเก็บผลสุกของใบย่านาง เพื่อที่จะนำมาเพาะทดลองอีกครั้งหนึ่ง
น้ำสมุนไพรปั่นที่ได้จากใบย่านางนั้น ถ้าใครได้ลองชิมแล้ว คงจะต้องติดใจ นอกจากที่รสชาติที่ชวนดื่มแล้ว น้ำสมุนไพรจากใบย่านาง ยังทำให้ได้รับสารอาหารที่ส่งเสริมทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากอะไร เริ่มต้นด้วยการจัดเตรียม ใบของย่านาง และใบของใบเตย อย่างละเท่าๆๆ นำมาล้างน้ำเปล่าให้สะอาด เสร็จแล้วก็เอาใบทั้งสองชนิด มาขยี้กับน้ำสะอาด หรือปั่นด้วยเครื่อง ปั่นประมาณ 30 ถึง 45 วินาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ กากนำมาปั่นซ้ำ หรือจนกว่าจะหมดสีเขียว กรองเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4-5 วัน ถ้ารสชาติเปลี่ยนหรือมีรสเปรี้ยว ก็เททิ้งได้เลย
เมื่อเรารู้ถึงที่ไปที่มา รวมถึงสรรพคุณ ของใบย่านางแล้ว สิ่งแรกที่เราจะต้องทำ ก็คือหาต้นใบย่านาง มาปลูกไว้ที่สวนข้างบ้านซะ ปลูกโตแล้ว ก็นำใบย่านาง มาทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ไว้ดื่มแทนน้ำอัดลม เพื่อสุขภาพที่ดีกว่านะ
ย่านาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อสามัญ : Bamboo grass
วงศ์ : Menispermaceae
ชื่ออื่น : จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)
ย่านาง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
คุณประโยชน์ของใบย่านางนั้นอาจจะมีมากมาย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ใบย่านางนั้นมีประโยชน์อย่างไร ผมเองก็เพิ่งจะรู้เมื่อไม่นานมานี้เอง และรู้โดยบังเอิญ ปัจจุบันก็เริ่มศึกษาและสนใจที่จะปลูก ให้เป็นมุมสมุนไพรที่สามารถเก็บใบย่านาง ไปประกอบอาหาร และทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรได้เลย เมื่อเราต้องการ
ย่านาง นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านาง มีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน
สำหรับสรรพคุณในทางยา ย่านาง ถือว่าเป็นยาฤทธิ์เย็น มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ โดยรากใช้แก้ไข้ทุกชนิด เช่น ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด สุกใส ไข้กาฬ ขับกระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง และแก้เบื่อเมา ส่วนใบและเถา จะใช้แก้ไข้ ลดความร้อน และแก้พิษตานซาง รากย่านางเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ร่วมกับรากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร ท่านที่สนใจจะเจาะลึกถึงสรรพคุณของใบย่านาง อย่างจริงจัง คงจะต้องค้นคว้าเพิ่มเติมนะครับ
เมื่อหลายเดือนก่อน ผมพยายามที่จะขุดต้นใบย่านาง ใส่กระถาง เพื่อไว้ศึกษา แต่ก็ล้มเหลว ปลูกไว้ได้ไม่นาน ต้นย่านางเหี่ยวตายเสียก่อน เลยต้องเปลี่ยนแผนใหม่ เที่ยวนี้ก็เลยรอเก็บผลสุกของใบย่านาง เพื่อที่จะนำมาเพาะทดลองอีกครั้งหนึ่ง
น้ำสมุนไพรปั่นที่ได้จากใบย่านางนั้น ถ้าใครได้ลองชิมแล้ว คงจะต้องติดใจ นอกจากที่รสชาติที่ชวนดื่มแล้ว น้ำสมุนไพรจากใบย่านาง ยังทำให้ได้รับสารอาหารที่ส่งเสริมทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากอะไร เริ่มต้นด้วยการจัดเตรียม ใบของย่านาง และใบของใบเตย อย่างละเท่าๆๆ นำมาล้างน้ำเปล่าให้สะอาด เสร็จแล้วก็เอาใบทั้งสองชนิด มาขยี้กับน้ำสะอาด หรือปั่นด้วยเครื่อง ปั่นประมาณ 30 ถึง 45 วินาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ กากนำมาปั่นซ้ำ หรือจนกว่าจะหมดสีเขียว กรองเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4-5 วัน ถ้ารสชาติเปลี่ยนหรือมีรสเปรี้ยว ก็เททิ้งได้เลย
เมื่อเรารู้ถึงที่ไปที่มา รวมถึงสรรพคุณ ของใบย่านางแล้ว สิ่งแรกที่เราจะต้องทำ ก็คือหาต้นใบย่านาง มาปลูกไว้ที่สวนข้างบ้านซะ ปลูกโตแล้ว ก็นำใบย่านาง มาทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ไว้ดื่มแทนน้ำอัดลม เพื่อสุขภาพที่ดีกว่านะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น