10 มี.ค. 2556

ศัตรูตัวเอกของมะกรูด

alt=หนอนกินใบมะกรูด ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวชมสวนมะกรูดในพื้นที่แห่งหนึ่ง ต้นมะกรูดจำนวนหลายร้อยต้น ในพื้นที่จำนวนสิบๆไร่ ภาพที่เห็น ต้นมะกรูดสูงราวๆ1ฟุต กำลังแตกยอดแตกกิ่ง ตื่นเต้นไปกับเกษตรกรชาวสวน ไม่น่าเชื่อว่าพืชที่เราพบเห็นอยู่ทั่วๆไปของประเทศไทย จะสามารถทำเงินให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้ ใช่แล้วครับเรากำลังพูดถึงการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า กลับจากการที่ได้ไปเที่ยวชมสวนมะกรูด ผมก็ค้นคว้าหาข้อมูลกันยกใหญ่ การปลูกมะกรูดเพื่อการค้าเป็นพืชที่น่าสนใจ วินาทีนั้นผมตัดสินใจที่จะปลูกมะกรูดเพื่อขายใบขายลูกกับเขาบ้าง

มะกรูด จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ของอินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย คาบสมุทรมลายูและฟิลิปปินส์ เป็นต้น มะกรูด มีชื่อเรียกอื่นๆในประเทศไทยอีกจำนวนมากของแต่ละพื้นที่ เช่น มะขุน มะขูด มะขู ส้มกรูด ส้มมั่วผี ฯลฯมะกรูดเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในเครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอางน้ำมันหอมระเหย หรือจะผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย

และในทางการแพทย์ไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้แก้อาการจุกเสียด


มะกรูดเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลส้ม เช่นเดียวกับมะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มจี๊ด มะสัง มะตูม และมะขวิด พืชในตระกูลนี้เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งต่างๆของประเทศไทย…นี้ละครับข้อมูลที่หามาได้ ต่อจากนั้นไม่ชักช้า สั่งต้นมะกรูดที่ปลูกด้วยเมล็ดมาจำนวน 1,000 ต้น เห็นต้นมะกรูดแล้วชื่นใจ ใบสวย ต้นงาม อนาคตรวยแน่ๆๆ

จ้างรถไถมาปรับปรุงพื้นที่บนเนื้อที่ 5 ไร่เศษ วางระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ ระหว่างกลางสองต้นซ้ายขาว ตามสูตร กว้างยาวระหว่างต้น 2 x 2 เมตร เสร็จแล้วลงมือปลูกทันที ไม่กี่วันก็สามารถปลูกต้นมะกรูดที่สั่งซื้อมาจนหมด สบายใจรวยๆๆๆๆ

เวลาผ่านสองเดือน สามเดือน สี่เดือน ต้นมะกรูดไม่ไปไหน ใส่ปุ๋ยก็แล้ว อาหารเสริมก็แล้ว นั้นๆๆต้นมะกรูดเป็นอะไรไป ใบเป็นจุดกลมขนาดเล็กประมาณหัวเข็มหมุด ใส และฉ่ำน้ำ มีสีชัดกว่าใบมะกรูดปกติ ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อน ต่อมาแผลจะนูนขึ้น จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะนูนฟูจะยุบตัวและแตกออกเป็นสะเก็ด แข็งและขรุขระบริเวณตรงกลางบุ๋ม และมีวงแหวนสีเหลืองชัดเจนล้อมรอบแผล ซึ่งต่อมาจึงได้รู้ว่าลักษณะอาการแบบนี้ เรียกว่า โรคแคงเกอร์ นี้คือโรคประจำตัวของพืชตระกูลส้ม รวมทั้งมะกรูดด้วย

หลังจากจัดการกับเจ้าโรคแคงเกอร์ที่เข้ามาก่อกวนต้นมะกรูดไปแล้ว หลังจากนั้นไม่นานเราก็พบกับตัวหนอนที่แอบมากินใบมะกรูด ไม่รู้มันมาตอนไหน กว่าจะรู้อีกที ใบมะกรูดที่กำลังงาม เกือบหมดต้น เจ้าหนอนที่ว่านี้มันก็คือหนอนกินใบ เป็นหนอนที่เกิดจากผีเสื้อกลางวันชนิดหนึ่ง โดยจะกัดกินส่วนของใบอ่อนและยอดอ่อนของมะกรูด ถ้าหนอนระบาดมากๆจะกัดกินทั้งยอดอ่อนและใบอ่อนจนไม่เหลือเลย ลักษณะการทำลายของหนอนชนิดนี้รวดเร็วมาก ใช้ระยะเวลา 2-3วัน ระบาดในช่วงฤดูฝน

เสร็จภาระกิจกับเจ้าหนอนกินใบแล้ว เราจะเจอกับอะไรอีกหวา ปลูกมะกรูดไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด จะโตได้ตัดใบขายไหมเนี้ย ปัจจุบันมีต้นมะกรูด จากจำนวนพันต้น คงเหลืออยู่ประมาณ สองสามร้อยต้น สู่ไม่ไหวกับศัตรูของมะกรูด ดูแลไม่ทั่วถึง ต้นมะกรูดตายบ้าง ขุดออกเองบ้าง จึงปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วน ปลูกต้นผักหวานป่า กับไผ่ตงลืมแล้ง ไม่รงไม่รวยไม่เอาแล้วฮ่าๆๆๆๆ

1 ความคิดเห็น:

T a t A r กล่าวว่า...

รบกวนสอบถามได้มั๊ยคะว่า สวนมะกรูดที่ทางคุณได้มีโอกาสไป เป็นที่ไหนหรอคะ พอดีกำลังหาสวนมะกรูดที่สามารถพาคนเข้าไปกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับต้นมะกรูดอยู่น่ะค่ รบกวนด้วยนะคะ

หากสามารถให้ข้อมูลได้อย่างไร แจ้งที่ mail >> nutar_2thiti@hotmail.com ได้นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

แสดงความคิดเห็น