31 ธ.ค. 2555

หมามุ้ย…ไวอากร้าสายเลือดไทย (ตอนที่1)

alt=ดอกหมามุ้ย
สองสามปีก่อน เมื่อตอนที่ผม เข้ามาเปิดป่าบนเนินเขาเล็กๆ เพื่อสร้างกระท่อมชั่วคราว ไว้สำหรับมาพักพิงเวลาอากาศร้อนและเวลาเหนื่อยจากการทำงาน พื้นที่บริเวณนี้เป็นอยู่บนเนินเขาเล็กๆ มีต้นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม้เบญจพรรณหลายชนิด ไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อน นอกจากนี้ยังมีไม้ประเภทเถาวัลย์ อย่างเช่น ต้นบันไดลิง ลำต้นบิดงอไปมา เลื่อยพันต้นไม้ใหญ่ ดูไกลๆอาจจะแยกไม่ออกเลย ต้นหมามุ้ย ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่ชอบพันขึ้นต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นถ้าเราไม่ระมัดระวังตัว เผลอไปสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ หรือโดยไม่รู้ตัว…คันทั้งวันเลยเชียว

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว ที่คนไทยรู้จักมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นในด้านลบเสียมากกว่า เพราะว่า ใครก็ตามที่สัมผัสที่ขนของหมามุ้ยแล้ว จะมีอาการคัน ยิ่งเกายิ่งคัน ถ้าแพ้มากจะเกิดผื่นบวมแดง ต้องรีบหายากินยาทากันวุ้นวาย

หมามุ้ย หรือ หมามุ่ย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens DC. เป็นพืชเถาซึ่งมีขนคันจากฝัก เมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน เนื่องจากขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ serotonin และมีสารคล้าย histamine การเกิดพิษ ขนเมื่อถูกสัมผัส จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง

ลักษณะทั่วไปของหมามุ้ย ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน โคนใบอาจมีทั้งมน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ด ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่นี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษ ปลายยอดของขนจะแตกออก และฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและปวดแสบปวดร้อน


29 ธ.ค. 2555

จากไฟไหม้ฟางลามไปไหม้อ้อย…คนกำลังจะไปเครื่องจักรกำลังจะมา

ใกล้ปีใหม่ของทุกปี มักจะได้ยินได้เห็นเหตุการณ์ไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้โรงงาน ไฟไหม้บ้านเรือน และอีกหลายที่หลายแห่ง ผู้กระทำผิด มักจะไม่พ้น ไฟฟ้าลัดวงจร ตกเป็นแพะรับบาปทุกที 555

ถ้าตามบ้านนอกบ้านนา ไฟไหม้ที่พบบ่อยๆ ส่วนใหญ่ก็คือการที่ชาวนา เผาฟาง เพื่อที่จะจัดเตรียมพื้นที่ สำหรับการไถดิน เป็นการเริ่มต้นของการปลูกข้าวรอบใหม่(พื้นที่มีน้ำชลประทาน) ซึ่งในอดีตเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผลกระทบของการเผาฟาง อย่างแรก ควันไฟที่ลอยไปในอากาศ อย่างที่สองก็คือเขม่าสีดำที่ลอยไปตกหลังคาบ้านเรือน ปลิวเข้าไปตกตามพื้นบ้าน หล่นตามเสื้อผ้า ปัจจุบันอาจจะพบน้อยลง เนื่องจากมีการรณรงค์ให้ชาวนาไถกลบตอซังข้าว เพื่อให้ย่อยสลายไปในดิน สุดท้ายกลายเป็นอาหารเป็นปุ๋ยของต้นข้าว ต่อไป

สำหรับพืชไร่ ที่มักจะพบบ่อย นั้นก็คือการทำไร่อ้อย พอถึงฤดูเก็บเกี่ยว ทางโรงงานน้ำตาล ก็จะเปิดโรงงาน เพื่อรับอ้อยที่จะตัดป้อนเข้าโรงงาน คนงานก็จะทำหน้าที่ตัดอ้อยแล้วมัดเรียง เพื่อสะดวกในการใช้รถคีบมัดอ้อยขึ้นรถบรรทุกสิบล้อพ่วงอีกที และก่อนหน้านั้น คนงานจะทำการเผาต้นอ้อย เพื่อจะสะดวกในการตัดอ้อย บางพื้นที่นอกจากจะรกไปด้วยใบอ้อย ซึ่งใบอ้อยมีความคม สามารถบาดผิวหนังให้เป็นแผลได้ นอกจากปัญหาเรื่องใบอ้อยแล้ว ยังมีมีปัญหาเรื่องของหมามุ้ย เมื่อไปถูกหรือสัมผัส ก็จะเกิดอาการคัน ไม่สามารถทำงานต่อได้เลย

ถึงแม้การเผาอ้อย จะทำให้คุณภาพของน้ำตาลที่อยู่ในอ้อยลดลง เจ้าของไร่อ้อยก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ การเผาอ้อยเป็นวิธีการเดียวที่ คนงานตัดอ้อย จะยอมทำงานให้ ถึงขนาดบางแห่งบางที่ ถ้าไม่เผาอ้อยก่อน ก็จะไม่ยอมตัดอ้อย นี้คือปัญหาที่เจ้าของไร่อ้อย แก้ปัญหาไม่ตก การเอาใจคนงาน มันเป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อนมากๆๆๆ


26 ธ.ค. 2555

ไผ่ตงลืมแล้ง…ไผ่ร้อยชื่อ

alt=ไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้งหรือไผ่ร้อยชื่อ ที่เรามักจะได้ยินชื่อเรียกต่างไปจากนี้ จนไม่รู้ แท้จริงคือไผ่ชนิดเดียวกัน ปลูกต่างที่กัน ก็พากันตั้งชื่อกันใหม่ เพื่อให้เข้ากับสถานที่ปลูก หรือคุณสมบัติทั่วๆไปของไผ่ แต่จริงๆแล้วเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า แล้วเวลาขายละ ได้บอกหรือไม่ ว่านี้คือไผ่ชนิดเดียวกัน ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ขนาดเราเป็นเกษตร พวกเดียวกันแท้ๆ ยังต้องเสียค่าวิชา ฮ่าๆๆๆ…ชื่อกิมซุง ผมคิดว่าน่าจะเป็นชื่อแรกๆ ของการตั้งชื่อ และอีกหลายๆชื่อ เท่าที่จำได้ ตัวอย่าง เช่น

ชื่อไผ่กิมซุง มีภาคตะวันตกและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี
ชื่อไผ่ลืมแล้ง, ตงลืมแล้ง มีภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี ภาคใต้ เช่นจังหวัดพัทลุง
ชื่อไผ่ไต้หวัน มีภาคตะวันออก เช่น จังหวัดชลบุรี
ชื่อไผ่จีนเขียว, เขียวเขาสมิง มีภาคตะวันออก เช่น จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด
ชื่อไผ่ทองสยาม มีจังหวัดอ่างทอง โดยเฉพาะอำเภอวิเศษชัยชาญ และพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น


19 ธ.ค. 2555

ดอกแคสีแดง…กินดีมีประโยชน์ นะจะบอกให้

alt=แคแดง แค…ดอกสีแดง กินได้ครับ ยืนยัน…ฟันธง…ก่อนหน้านี้มักจะมีคนพูดว่า ดอกแค สีแดงกินได้เหรอ ไม่เห็นมีใครเขากินกัน และอีกหลายคำถาม ผมเองตอนแรกๆก็ไม่มีความรู้และไม่มีประสบการณ์โดยตรง เมื่อต้นปี 2554 ผมได้นำหัวมันสำปะหลังไปขายที่สถานรับซื้อ และบังเอิญสถานที่นั้นปลูกต้นแค ไว้ที่หน้าลานตากหัวมันสำปะหลัง เป็นต้นแค ดอกสีแดง เสียด้วย กำลังออกดอก ออกฝัก น่ากิน…อร่อย แซบๆๆๆ

ระหว่างที่ผม กำลังนั่งรอรับเงินค่าขายหัวมันสำปะหลัง ก็พลันลุกจากที่นั่ง เดินไปเก็บดอกแค มาหนึ่งถุงใหญ่ กับฝักของแคแดง มาหลายฝักด้วยกัน ตอนนั้นคิดว่าจะนำไปเพาะเมล็ด และจะนำปลูก เพื่อที่จะทดลองนำส่วนต่างๆของแคแดง มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ดอก ใบ(ยอด) ของแคแดงมารับประทาน รวมถึงจะนำไปปลูก เพื่อเป็นไม้พี่เลี้ยง ของต้นผักหวานป่า การที่เราจะนำส่วนของดอก มารับประทาน ปกติเรามักจะไม่เคยเห็นกัน หรืออาจจะไม่เป็นที่นิยม ก็เลยกลายเป็นเรื่องใหม่ๆไป


16 ธ.ค. 2555

กระรอกน้อย…ช่างแกะสลักผลไม้

alt=มะละกอแขกดำ กระรอก เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกระแต สัตว์สองชนิดนี้ เหมือนกันยังกับแพะกับแกะ สำนวนไทย มักจะใช้เปรียบเทียบถึงความเหมือนหรือคล้ายกันนั้นเอง แต่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่างกระรอกกับกระแต นั้นก็คือรูปร่างหน้าตา กระรอกหน้าตาคล้ายคนไทย จมูกไม่ยื่น ส่วนกระแต ก็ตรงกันข้ามจะมีจมูกแหลมๆยื่นออกมา ยังกับจมูกฝรั่งนั้นแหละ

ความแตกต่างที่สังเกตได้จากพฤติกรรมของกระรอกกับกระแต กระแตจะหาแหล่งอาหารบนพื้นดิน ส่วนกระรอกจะอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ พบน้อยมากบนพื้นดิน ด้วยพฤติกรรมของกระรอกที่ชอบวิ่ง กระโดดบนต้นไม้ ดังนั้นแหล่งอาหารของกระรอก จึงจะอยู่บนต้นไม้ เรียกว่าเป็นอาหารคาวไม่ว่าจะเป็น แมลง,ด้วงหรือหนอนที่อาศัยอยู่กับเปลือกไม้ นอกจากนี้ อาหารหวาน ที่กระรอก ชอบมากๆๆ นั้นก็คือผลไม้เกือบทุกชนิด ซึ่งเรามักจะได้ยินบ่อยๆถึงเรื่องปัญหาของเกษตรกรไทย เจ้ากระรอกน้อยสร้างปัญหากัดกินลูกมะพร้าว ปัญหารุนแรง จนเกษตรกรในจังหวัดนั้น ได้มีการควบคุมโดยการกำจัดกระรอก ให้มีปริมาณพอเหมาะต่ออาหารของเขา พูดง่ายๆ มีคำสั่งฆ่า เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคน…น่าเศร้า

นอกจากลูกมะพร้าว ที่เป็นอาหารสุดโปรดแล้ว ก็ยังมีอาหารหวานประเภทผลไม้ ที่กระรอกชอบ…นั้นก็คือผลไม้สุก ได้แก่ มะละกอสุก ซึ่งก็ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับไร่ภูกาญจน์ มากนัก เพราะว่าเราปลูก มะละกอ ไว้เผื่อสำหรับกระรอก นก และสัตว์ชนิดอื่นที่เข้ามากินด้วย…ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ใครจะเร็วกว่ากัน ส่วนใหญ่เสร็จเจ้ากระรอก ปีนต้นมะละกอ เก่ง เอาไปกินเกือบหมด…ผมเองต้องเก็บผลมะละกอที่ยังไม่สุก ไปบ่ม ก่อนที่เจ้ากระรอก จะมากัดกิน ไม่งั้นไม่ทันเจ้ากระรอกน้อย…


15 ธ.ค. 2555

เห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ…ความเชื่อต้องพิสูจน์

alt=เห้ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ3 จากบทความที่แล้วที่ผมได้เขียนเรื่อง เห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ…แปลกแต่ไม่แปลก(จริงๆๆ) …ผมจะพบเห็ดชนิดนี้ขณะดอกเห็ดบานแล้วหรือไม่ก็ดอกเห็ดเริ่มจะเหี่ยวแห้ง จนดูไม่ออกว่านี้คือเห็ดที่ผู้คนพากันแตกตื่น…เวลาที่พบก็มักจะเป็นด้วยความบังเอิญ เนื่องจากได้กลิ่นเหม็นของดอกเห็ด ซึ่งถ้าเดินตามหาในระยะรัศมีไม่เกิน 4-5เมตร ก็จะพบตำแหน่งของเห็ด และสิ่งแรกที่เห็นพร้อมกับดอกเห็ด ก็คือฝูงของแมลงวันหัวเขียว ตัวโตๆ ที่ชอบบินมาตอมซากสัตว์ นั้นเอง

เห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ นี้ผมก็พยายามค้นหาข้อมูล อยากรู้จริงๆๆ เจ้าเห็ดนี้ มันคือเห็ดอะไรกันแน่ อยู่สายพันธ์ไหน หรือไฟลัม อะไร จะได้ไขข้อสงสัยกันเสียที ถามพี่กลู ก็เจอแต่ คอหวย แห่ไปขอเลขเด็ด อะไรทำนองนี้…เซ็งโคตรจริงๆๆ แต่มีข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจ มีเห็ดในวงศ์ (family) Phallaceae น่าจะเป็นญาติกัน และท่านที่สนใจลองค้นหาคำว่า Phallaceae จะมีข้อมูลให้ศึกษาเพิ่มเติม


6 ธ.ค. 2555

การปลูกผักหวานป่า ตอนที่2

P1050018 เมื่อตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึง ความรู้ทั่วไปๆ ของการปลูกผักหวานป่า แต่สำหรับบทความที่จะเขียนต่อไปจากนี้ ก็จะเขียนเกี่ยวกับจุดเด่น จุดด้อย จุดอ่อน และจุดแข็ง ของการปลูกผักหวานป่า ผ่านประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำ บางมุมอาจจะไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน หรือพบเห็นแล้วอาจจะไม่ได้สังเกต ก็ลองติดตามอ่านบทความจากเรื่องเล่า แล้วท่านอาจจะได้รับความรู้โดยไม่รู้ตัว

การปลูกผักหวานป่า ด้วยเมล็ด สมัยก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ปัจจุบันการปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ด เป็นเรื่องที่ง่าย ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้ เรายังสามารถขยายพันธ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการตอนกิ่ง สำหรับท่านที่ต้องการให้ได้ผลผลิตเร็วๆ แต่ราคากิ่งพันธ์ จะแพง ถ้าจะปลูกกิ่งสองกิ่ง ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร

3 ธ.ค. 2555

เห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ…แปลกแต่ไม่แปลก(จริงๆๆ)

เช้าวันหนึ่งของเดือน พ.ย. ผมมีโอกาสได้ดูการเสนอข่าวของรายการข่าวตอนเช้าๆ เรื่องเห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือคน โผล่ขึ้นมาจากดิน คนเดินเรื่องและนักข่าวท่าทางตื่นเต้นกันยกใหญ่ ผมเองก็กำลังชงกาแฟ พร้อมกับหันไปมองนิดๆๆ ผมเองก็อดที่จะอมยิ้ม และหัวเราะเบาๆๆ

บางที่ความแปลกของพื้นที่หนึ่ง กับความธรรมดาของอีกพื้นที่หนึ่ง มันเป็นเรื่องเดียวกัน…เห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ ที่ว่านี้ ผมพบเห็นเป็นประจำบริเวณพื้นที่ไร่ภูกาญจน์ ตำแหน่งที่พบบ่อยก็บริเวณใกล้ๆก่อไผ่ตงลืมแล้ง(กิมซุ่ง) เห็ดชนิดนี้จะมีกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นในระยะรัศมี 4-5เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ๆกลิ่นจะรุนแรง แมลงวันจะตอม คล้ายกับมีซากสัตว์ ไม่แน่ใจว่ากลิ่นเหม็นที่เห็ดปล่อยออกมานั้น เพื่อจุดประสงค์เป็นกับดัก ที่จะกินเจ้าแมลงวันที่หลงกลเข้ามาตอม หรือเปล่า ก็คงต้องรอผู้ที่จะมาศึกษาวิจัยเห็ดชนิดนี้กันต่อไป

รูปภาพที่ถ่ายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ มีมากมายหลายรูป ส่วนใหญ่รูปภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ คือลักษณะของส่วนคล้ายนิ้วมือที่ยื่นขึ้นมานั้น จะหักเสียก่อน ก่อนที่ผมจะไปพบ เห็ดรูปร่างคล้ายนิ้วมือ พบมากที่สุดก็ในราวๆเดือน พ.ค.-ส.ค. ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่เชื้อเห็ดในธรรมชาติได้รับความชื่น อุณหภูมิ ที่เหมาะสม เมื่อก่อนที่ผมจะปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ก็ไม่ค่อยจะได้พบเห็นเห็ดชนิดนี้มากนัก สันนิษฐาน ว่าน่าจะมีเชื้อจุลินทรีย์ และราขาว เป็นต้นเหตุ

2 ธ.ค. 2555

การปลูกผักหวานป่า ตอนที่1


ผักหวานป่า เป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่น่าจับตามอง ผักหวานป่าที่พบในธรรมชาติมักจะพบในพื้นที่ ที่เป็นเนินสูง ในป่าเบญจพรรณผสมไผ่ ในประเทศไทยพบมากที่ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ ลำพูน ตาก เชียงราย ลำปาง ภาคอีสานที่อุดรธานี นครพนม สกลนคร นครราชสีมา ภาคกลางพบมากที่กาญจนบุรี สระบุรี ภาคใต้ ที่สุราษฎร์ธานี กระบี่ เป็นต้น

แต่ในปัจจุบันผักหวานป่าที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติ-ป่าภูเขามีจำนวน ลดน้อยลง(เนื่องจากฝีมือมนุษย์ ขุดต้น-ขุดรากเพื่อมาปลูกและบริโภคอย่างไม่อนุรักษ์) ทำให้ผักหวานป่าที่ขายอยู่ตามท้องตลาดมีราคาค่อนข้างแพงตามไปด้วย จึงมีเกษตรกรหัวก้าวหน้า ได้นำผักหวานป่ามาปลูกเพื่อการค้า เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์ (ระยะเวลาเก็บยอด 3-5 ปี) การตอนกิ่ง การปักชำราก(ระยะเวลาเก็บยอด 2-3ปี) แหล่งปลูกผักหวานที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยได้แก่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี