28 ก.พ. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอน ไม้พี่เลี้ยงถูกหนอนผีเสื้อกัดกิน

alt=หนอนกินใบแค
เมื่อเราต้องการปลูกผักหวานป่า เราก็ย่อมที่จะปลูกไม้พี่เลี้ยง ควบคู่กันไป ส่วนการที่จะปลูกไม้พี่เลี้ยงก่อนต้นผักหวานป่า หรือจะปลูกพร้อมกับต้นผักหวานป่า ก็ขึ้นกับว่า เราจะเลือกต้นไม้ชนิดไหน ให้เป็นไม้พี่เลี้ยงของต้นผักหวานป่าดี

ถ้าเราเลือกต้นแคบ้าน เพื่อที่จะปลูกไว้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้กับต้นผักหวานป่า เราก็จะต้องเรียนรู้ถึง จุดอ่อนจุดแข็งของต้นแค ว่ามีอะไรบ้าง การรู้ถึงข้อดีข้อเสียของพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเสียก่อน เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้น ก็ย่อมที่จะมีทางออก และแก้ปัญหาได้

ข้อดีหรือจุดแข็งของต้นแคบ้าน สามารถปลูกพร้อมๆกับเมล็ดต้นผักหวานป่าได้เลย เพราะว่าปลูกง่าย โตไว ต้นแคเป็นพืชตระกูลถั่ว จะช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนไว้ที่ปลายราก ดังนั้นถ้าเราปลูกต้นผักหวานป่าไว้ในบริเวณใกล้ๆ หรือปลูกไว้ในหลุมเดียวกัน ต้นผักหวานป่า ก็จะดึงเอาธาตุไนโตรเจนที่อยู่ปลายรากของต้นแค ไปใช้ นอกจากนี้ ต้นผักหวานป่า ที่ยังเล็กอยู่ก็จะอาศัยดูดน้ำ จากบริเวณโคนต้นต้นแคอีกด้วย


26 ก.พ. 2556

การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

alt=จุลินทรีย์หน่อกล้วย
จากบทความเรื่อง “กล้วยน้ำว้าล้มทั้งยืน เมื่อสายลมหนาวพัดผ่าน” ที่ได้เขียนไว้เมื่อครั้งก่อน ทำให้เกิดความคิดในการต่อยอด เพื่อไม่ให้การล้มของกล้วยน้ำว้าต้องเสียเปล่า ใช่แล้วครับ ผมได้นำต้นกล้วยน้ำว้า ซึ่งกำลังมีลูกและหัวปลี นำมาทำปุ๋ยจากทุกๆส่วนของกล้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางท่านบางคนอาจจะสงสัยว่า การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยนั้น ทำไมต้องใช้เฉพาะหน่อกล้วย ลำต้นได้ไหม ใบได้ไหม หรือว่าลูกกล้วยและหัวปลีของกล้วยได้ไหม

การนำกล้วยไปปลูกในพื้นที่สวนพื้นที่ไร่ สภาพของดินก่อนปลูกและหลังปลูกจะเปลี่ยนไป เมื่อปลูกกล้วยไปได้ในระยะหนึ่ง ถ้าลองสังเกตุดู จะพบว่าดินรอบๆกอกล้วยมีความร่วนซุยขึ้น อุ้มน้ำมากขึ้น ถ้าขุดดินลงไปอาจจะพบไส้เดือนที่มาหาอาหารและมาอาศัยอยู่ ไส้เดือนนี้จะกินและถ่ายมูล อาจจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

กล้วยเป็นพืชที่สะสมน้ำ คนสมัยก่อนจึงมักจะปลูกชนิดอื่นไว้ใกล้กอกล้วย เพื่อให้กล้วยช่วยเลี้ยง จนกว่าต้นไม้นั้นจะโตพอที่จะหาน้ำเองได้เมื่อถึงเวลาจำเป็น และที่สำคัญความชื่นที่อยู่รอบๆกอกล้วยยังมีสิ่งชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าจุลินทรีย์มาอาศัยและช่วยสร้างผลประโยชน์ให้ ช่วยปรับปรุงดินจากดินที่ไม่มีชีวิตให้พื้นคืนชีพอีกครั้ง


22 ก.พ. 2556

น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก

alt=ฮอร์โมนผลไม้
มะละกอสุกที่สวนเกษตร มักจะมีขโมยสี่ขาแอบมากินก่อน กระรอกสีขาวตื่นตั้งแต่เช้าแอบย่องมา ก่อนที่เราจะตื่นจากที่นอนเสียอีก ร้ายจริงๆ แต่ก็ยังมีบางต้นและบางลูกที่กระรอกไม่สามารถขึ้นไปกินลูกมะละกอสุกได้ เลยได้โอกาสนำมะละกอลูกที่กำลังสุกไปทำน้ำหมักชีวภาพ…ขอบใจนะ กระรอกน้อย ที่เหลือไว้ให้

น้ำหมักชีวภาพ จากผลไม้สุก เราเพียงแต่นำผลไม้สุกที่เราปลูกไว้ในสวนเกษตร นำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด ที่สวนเกษตร ผมมักที่จะเก็บผลมะละกอสุก จากต้นที่อยู่ท้ายสวน เจ้ากระรอกขาวไม่กล้าไป คงจะกลัวเจ้าตูบไล่กัด ก่อนที่จะได้กินมะละกอสุกหวานๆ

การทำเกษตรแบบผสมผสาน ข้อดี เราจะมีพืชหรือผลไม้ ที่สะอาด สด ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และไม่เป็นอันตรายต่อตัวเราเอง ดังนั้นพืชหรือผลไม้ ที่เหลือจากกิน เราก็สามารถที่จะนำพืชหรือผลไม้เหล่านั้นมาทำปุ๋ย ทำฮอร์โมนจากพืช เพื่อนำไปปรับปรุงบำรุงดินภายในสวน ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับพืชเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เร่งดอกเร่งผล ลดค่าใช้จ่ายได้ผลจริงๆ


20 ก.พ. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอน การปลูกไม้พี่เลี้ยง

alt=ไม้พี่เลี้ยง
คำว่าไม้พี่เลี้ยง ซึ่งแปลตรงๆก็คือ ต้นไม้ที่คอยดูแลต้นไม้ที่เราจะนำไปปลูกไว้ใกล้ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ร่มเงา เป็นแหล่งให้น้ำ ให้ปุ๋ย ดังนั้นต้นไม้พี่เลี้ยงของผักหวานป่า ก็คือต้นไม้ที่ปลูกไว้สำหรับคอยช่วยเหลือให้ต้นผักหวานป่า ได้อาศัยร่มเงา ได้อาศัยซึมซับแหล่งน้ำ ซึมซับธาตุอาหารจากปลายรากของต้นไม้พี่เลี้ยง เพื่อให้ต้นผักหวานป่าได้ดำรงชีวิตและเจริญเติบโต ไปได้ในระยะหนึ่งก่อน

ต้นไม้พี่เลี้ยงของผักหวานป่า มีหลายชนิดหลายพันธุ์ จากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ ได้ศึกษาและเรียนรู้มาก่อน มักจะนิยมปลูกต้นมะขามเทศ หรือต้นแค มากกว่าที่จะเลือกปลูกต้นไม้ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น ต้นชะอม ต้นสะเดา ต้นตะขบ ฯลฯ

ต้นไม้พี่เลี้ยงแต่ละชนิดมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน ต้นมะขามเทศ เป็นไม้ตระกูลถั่ว ที่ปลายรากจะมีธาตุไนโตรเจน ที่จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี แต่ต้นมะขามเทศ ก็มีจุดด้อยที่ซ้อนอยู่ในจุดเด่น นั้นก็คือเมื่อเราปลูกไปได้ 2-3 ปี ต้นมะขามเทศ จะยู่โตเร็ว รากจะมีขนาดใหญ่ เมื่อต้นผักหวานป่า สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยไม้พี่เลี้ยง และการที่จะต้องตัดเอาไม้มะขามเทศออก นี้เป็นยากเพราะว่าเรามีต้นผักหวานป่า อยู่ภายใต้ร่มเงา


16 ก.พ. 2556

ต้นทานตะวัน อีกร้อยปี อนาคตจะเป็นอย่างไร

alt=ทานตะวันบาน
ย้อนเวลาไปเมื่อสี่ห้าปีก่อน ผมมีโอกาสได้ไปร่วมเปิดงานทุ่งทานตะวันบาน ณ อำเภอแห่งหนึ่ง ของสระบุรี งานครั้งนั้นใช้พื้นที่ปลูกทานตะวันบริเวณกลางหุบเขา จำนวนหลายร้อยไร่ พื้นที่เชิงเขาถูกเนรมิตให้เป็นทะเลสีเหลือง เมื่อมองออกไปสุดสายตา สีเหลืองของดอกทานตะวันสวยงามมาก เมื่อยามที่แสงของดวงตะวัน ตกกระทบกับกลีบสีเหลืองของดอกทานตะวัน

ปัจจุบันประเทศไทยจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แต่ก็เป็นเพียงในระยะสั้นๆ แค่ช่วงปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ผลผลิตที่ได้ พื้นที่ปลูก ไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่าย ราคาของเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูงปัจจุบันพืชชนิดนี้ก็ยังไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจในระดับแนวหน้า อย่างพืชจำพวก อ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั้งข้าวโพด

ทานตะวันเป็นพืชที่ให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอล ที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด แต่ก็น่าแปลกใจ ว่าทำไมทานตะวันถึงไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจชั้นนำเทียบเท่า อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง สักที


12 ก.พ. 2556

กล้วยน้ำว้าล้มทั้งยืน เมื่อสายลมหนาวพัดผ่าน

alt=กล้วยน้ำว้าล้ม
ปลายฤดูฝนที่ผ่านมา กล้วยน้ำว้าที่ปลูกไว้ที่สวนเกษตรกาญจนา อยู่รอดปลอดภัยมาหลายเดือน ทั้งที่ความจริงน่าจะหักล้มจากฤทธิ์ของลมในฤดูฝน เพราะว่าเม็ดฝนมักจะมาพร้อมกับลม ลมก็มักจะพัดและหมุนด้วยความเร็ว จึงทำให้ลมฝนมีความรุนแรง ต้นไม้ที่ขวางทางหักโค่นและทำให้บ้านเรือนที่อยู่ในเส้นทางที่ลมพัดผ่านต้องได้รับความเสียหาย

แต่ที่สวนเกษตรกาญจนา ความเร็วของแรงลมจะลดลง เมื่อต้องพัดผ่านต้นยูคาที่ปลูกไว้ป้องกันลมฝนไว้โดยเฉพาะ และเมื่อลมฝนพัดผ่านต้นยูคามาได้แล้ว ก็จะต้องปะทะกับสวนไผ่หม่าจู ก่อนที่ลมฝนจะประชิดต้นกล้วยน้ำว้า ความแรงของลมฝนที่มาถึงต้นกล้วยน้ำว้า จึงไม่ทำให้ต้นกล้วยน้ำว้า หักล้ม

เมื่อฤดูฝนผ่านไป สายลมที่มาพร้อมกับเม็ดฝน สายลมแห่งความชุ่มช่ำแห่งชีวิตผ่านไป สายลมหนาวก็เข้ามาแทนที่ เส้นทางของลมหนาว ซึ่งตรงกันข้ามของลมฤดูฝนอย่างสิ้นเชิง ลมฝนมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านพัก แต่ต้องพัดผ่านสวนเกษตรมาก่อน ก่อนที่จะถึงตัวบ้านพัก ผิดกับลมหนาวซึ่งจะมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เลยต้องเจอกับบ้านพักเต็มๆ เสียดังเมื่อลมหนาวเข้ามาปะทะ ต้นไม้ใหญ่ที่มีรากยืดดินและแข็งแรง ก็เอาตัวรอดได้ ผิดกับต้นกล้วยน้ำว้า ที่ต้องล้มทั้งยืน


5 ก.พ. 2556

ต้นจิกนาในไร่อ้อย…ไม้สารพัดประโยชน์

alt=ต้นจิกนา
ถ้ามีคนถามว่า รู้จักต้นจิกนาบ้างไหม สำหรับท่านที่เคยกินมาแล้ว ย่อมที่จะบอกได้ว่า ต้นจิกนานั้น มีรสชาติอย่างไร และถ้าถามต่อไปอีกว่า ลักษณะของลำต้นล่ะ ท่านที่เคยปีนป่ายเพื่อเก็บยอด ก็ที่จะบอกลักษณะของลำต้นและแหล่งที่พบเจอได้ไม่ผิดพลาดแน่ แต่ถ้าผมบอกว่าผมเก็บยอดจิกนาจากไร่อ้อย คนทั้งสิบทั้งร้อยจะต้องงงและสงสัยแน่ๆๆ

จิกนาหรืออีกหลายๆชื่อที่เรียกขานตามภูมิภาคท้องถิ่นของไทย อย่างเช่น กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ (หนองคาย) กระโดนสร้อย (พิษณุโลก) จิกนา (ภาคใต้) จิกน้ำ (ภาคกลาง) จิ๊ก (กรุงเทพฯ) ปุยสาย ตอง (เหนือ) ลำไพ่ (อุตรดิตถ์) เป็นต้น เรามักจะพบเห็นต้นจิกนาในพื้นที่ราบชื้น หรือพื้นที่ลุ่มหรือตามริมแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง เป็นเสียส่วนใหญ่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเจอบนพื้นที่ดอน หรือในพื้นที่ ที่ไม่มีน้ำขัง

การที่พบเจอต้นจิกนาในพื้นที่ไร่อ้อยนั้น ไม่ใช่เรื่องความบังเอิญหรือความผิดพลาดของต้นจิกนา ที่มาเลือกเกิดที่นี้ แต่ด้วยสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ย้อนไปสัก 50 ปี เคยเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นหนองน้ำ มีน้ำไหลผ่าน น้ำจากภูเขา แต่ปัจจุบันมีโรงเลี้ยงไก่มาสร้างปิดกั้นเส้นทางน้ำที่ไหลมาจากภูเขา ต้นจิกนาที่อยู่บริเวณนี้เลยกลายพันธุ์ เป็นต้นจิกดอนเสียแล้ว


4 ก.พ. 2556

มดแดง ไข่มดแดง สิ่งแวดล้อมและชีวิตที่พอเพียง

alt=ต้นมะม่วงรังมดแดง …สุดยอดอาหารอีสานคือไข่ มดแดง ต้มยำทำแกงหมกไฟใบตอง แต่พอดี มดตัวน้อยน้อย ออกไข่กลมกลมรีรี มันเป็นของดีมันแซบอีหลีไข่มดแดง ขึ้นกกโกกกหว้า ไปหาแย่ไข่มดแดง…อาหารจากธรรมชาติ อาหารที่ไร้สารพิษ คนอีสานช่างเลือกอาหารชนิดนี้ได้ดีจริงๆ จะด้วยความบังเอิญหรือเป็นความตั้งใจ ไข่มดแดง จึงเป็นอาหารประจำท้องถิ่น ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนสูง

เมื่อก่อน ผมคิดว่าจริงหรือเปล่า ที่มดแดงชอบสร้างรังบนต้นหว้า และจริงหรือเปล่าที่เวลาจะเก็บไข่มดแดง ต้องไปหาแย่ไข่มดแดง เฉพาะที่ต้นหว้าเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว มดแดงชอบที่จะสร้างรังบนต้นไม้ทุกชนิด บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินว่า เกษตรกรสวนมะม่วง มักจะมีปัญหากับมดแดง ที่มาสร้างรังบนต้นมะม่วง

ทำไม มดแดงจึงชอบต้นมะม่วง ด้วยความที่ ต้นมะม่วงมีลักษณะที่เหมาะสม ขนาดใบไม่เล็กหรือใหญ่มากเกินไป ใบไม่หยาบหรือแข็ง มีใบจำนวนมาก ไม่ผลัดใบในช่วงหน้าแล้ง ดังนั้นเราจึงพบเห็นรังมดแดงบนต้นมะม่วง นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ชนิดอื่น ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ต้นมะม่วง เช่น สะเดา ชมพู่ หว้า ลิ้นจี่ ลำไย เงาะ ส้ม ขี้เหล็ก เป็นต้น และต้นไม้ที่มักจะพบรังมดแดงน้อย หรือไม่พบเลย เช่น กระถิน สัก ยางนา ขนุน และไม้ที่ผลัดใบต่างๆ