21 พ.ย. 2556

ต้นสาบเสือใต้ร่มเงาของยูคา

alt='ต้นสาบเสือในสวนยูคา'ต้นสาบเสือเป็นพืชล้มลุกอีกชนิดหนึ่งที่ได้ถูกนำมาสกัดสารเพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืช เป็นพืชที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยการอาศัยแรงลม ช่วยพัดพาเมล็ดที่แก่พร้อมเจริญเติบโตไปตกในพื้นที่ห่างไกลออกไป จากต้นแม่ได้ไม่ยากนัก เช่นเดียวกันกับที่ไร่ภูกาญจน์แห่งนี้ เมื่อฤดูหนาวมาเยือน สายลมที่พัดผ่านมาทางด้านทิศเหนือของไร่ มักจะมีความเร็วและแรง ซึ่งพอดิบพอดีกับที่ต้นสาบเสือกำลังออกดอกและมีเมล็ดพร้อมที่จะดำรงสายพันธุ์สืบต่อไป

จึงไม่แปลกใจเลยที่ไร่แห่งนี้ จะพบต้นสาบเสือ ขึ้นเจริญเติบโตได้เกือบเต็มพื้นที่ของไร่ ทั้งพื้นที่ปลูกไผ่ตงลืมแล้ง พื้นที่ปลูกผักหวานป่า พื้นที่ปลูกมะกรูด รวมถึงพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว ปัญหาอยู่ตรงไหน…ทั้งๆที่ต้นสาบเสือ เป็นพืชที่ได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นพืชที่มีประโยชน์สำหรับเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมี

18 พ.ย. 2556

รังต่อหัวเสือบนกิ่งไผ่ตงลืมแล้ง

alt='รังต่อหัวเสือบนกิ่งไผ่ตงลืมแล้ง' ผมเองได้มีโอกาสได้เห็นได้สัมผัสตัวหนอน และตัวอ่อนของต่อหัวเสืออย่างใกล้ชิด จะด้วยความบังเอิญหรือความตั้งใจของเจ้าต่อหัวเสือก็ตาม ที่ได้เลือกสถานที่บริเวณนี้ ทำการก่อร่างสร้างตัวจนเป็นรังต่อหัวเสือขนาดเท่าลูกฟุตบอล

ปลายปีของทุกปี ก็จะได้เวลาทำการตัดแต่ง ลำ กิ่งก้านของไผ่ตงลืมแล้ง พร้อมกับใส่ปุ๋ย ใส่น้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการที่จะผลิตหน่อไม้ ขายในฤดูแล้ง ซึ่งก็จะมาเยือนอีกรอบในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้

และทุกครั้งที่ตัดแต่งกิ่งไผ่ มักจะได้ของแถมติดไม้ติดมือมาด้วย นั้นก็คือ รังผึ้ง น้ำหวานจากรังผึ้ง จำนวนอย่างน้อยๆ 3-4 รัง นี้เฉพาะในสวนไผ่ตงลืมแล้งเท่านั้น ไม่รวมรังผึ้งที่พบบนต้นไม้ที่อยู่ภายในไร่แห่งนี้


20 ต.ค. 2556

การขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งแบบมือสมัครเล่นแต่ได้ผลแบบมืออาชีพ

การขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งแบบมือสมัครเล่น
alt=รากอากาศ การขยายพันธ์ไผ่ตงลืมแล้ง มีวิธีการได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตอนกิ่งหรือการใช้วิธีการปักชำ และการที่จะเลือกนำวิธีการแบบไหนมาใช้ก็แล้วแต่จุดประสงค์ของแต่ละคน บางคนก็ใช้วิธีการตอนกิ่ง เพราะว่าสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ และก็บางคนก็ใช้วิธีการปักชำกิ่งซึ่งก็สามารถทำกิ่งพันธ์ได้เป็นจำนวนมากๆ ซึ่งในกรณีนี้ส่วนใหญ่ทำเพื่อการค้า
 
ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีการก็แตกต่างกันไป ซึ่งส่วนตัวได้ทดลองวิธีการเหล่านี้มาหมดแล้ว สามารถบอกได้ไหน?วิธีที่ดีที่สุดในการขยายพันธ์ไผ่ ผมเองไม่กล้าฟันธง
การขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งโดยการตอนกิ่ง นั้นจะทำกันในขณะที่กิ่งยังติดอยู่ที่ลำต้นของไผ่ กับวิธีการชำกิ่งแบบใหม่ในลักษณะรูปตัววาย(Y) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เวลาน้อยกว่าแบบเก่า และยังมีอัตราการงอกของรากสูง
 
ดังนั้นไม่ว่าเราจะขยายพันธุ์ไผ่ ด้วยวิธีการไหนก็ตามก็จะได้ผลเร็วกว่าไผ่ตระกูลอื่นๆ เนื่องจากไผ่ในตระกูลไผ่ตง จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าไผ่ชนิดอื่น นั้นก็คือจะมีรากอากาศออกที่โคนกิ่ง โดยเฉพาะในหน้าฝน รากอากาศจะออกง่ายมาก ซึ่งผมก็ชอบที่จะตัดกิ่งที่มีรากอากาศไปลงถุงชำ เพื่อไว้สำหรับขยายพื้นที่ปลูกในไร่
 

20 ก.ย. 2556

ใบอ่อนของมะม่วงเหลือแต่โคนใบ

ด้วงงวงกัดใบมะม่วง ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานทำบุญฯแถบชานเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯ ขณะที่กำลังกินข้าวเช้า สายตาก็หันไปมองต้นมะม่วงที่กำลังแตกใบอ่อนทั้งต้น ใบอ่อนยังสมบูรณ์เต็มใบทุกยอด ดูแล้วสวยงามยิ่งนัก ผิดกับต้นมะม่วงที่ไร่ออกยอดออกใบอ่อนที่ไร ใบร่วงทุกที

สงสัยเหมือนกันว่าทำไมต้นไม้ หรือผลไม้ที่ปลูกในเมือง ถึงได้เจริญเติบโตโดยไร้แมลงหรือศัตรูพืชเข้ารบกวน สิ่งเคยเห็นไม่ใช่แต่ยอดมะม่วงเท่านั้น ใบมะกรูดก็งามสมบูรณ์ไม่มีร่องรอยของหนอนผีเสื้อ ที่เข้ากัดกินใบและไม่มีโรคแคงเกอร์เข้าทำลาย กิ่ง ใบและสำต้นด้วย

ต่างกันกับในเขตพื้นที่ชนบท เกษตรกรที่ปลูกพืชผลที่มุ่งเน้นเพื่อการค้ามักจะใช้วิธีการการแก้ปัญหาเมื่อมีโรคหรือแมลงเข้ามาทำลาย นั้นก็คือการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคพืชและแมลง ซึ่งน้อยมากที่จะใช้วิธีการป้องกันด้วยสมุนไพรและวิธีทางธรรมชาติ ถึงมีอาจจะไม่ได้ผล เพราะอะไรหรือ


14 ก.ย. 2556

ผลของตะคล้อ….ในวันนี้


alt=ตะคล้อ13ลูก สองสามวันมานี้ฝนตกติดต่อกัน หนักบ้างเบาบ้าง ตกเวลากลางคืนก็ดีหน่อยอากาศเย็นสบายนอนหลับฝันดี ถ้าตกเวลากลางวันก็แย่หน่อย ผมได้แต่นั่งมองดูสายฝนผ่านหน้าต่าง มองเห็นยอดอ้อย ยอดข้าวโพด ยอดมันสำปะหลัง อยู่ไหวๆ งานเกษตรภาคพื้นสนามที่วางแผนไว้ก็ต้องหยุดนิ่ง บางวันมีลมและฝนมาแบบแปลกๆ ที่ว่าแปลกก็คือมีลมพร้อมสายฝนมาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปกติจะมีลมและฝนมาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะส่งสัญญาณ ปลายฝนต้นหนาวก็เป็นได้

ถ้าฤดูหนาวมาเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา ภาคเกษตรกรรมจะมีปัญหาแน่ๆ เมื่อสองอาทิตย์ก่อน ผมได้ไปเดินดูระดับน้ำที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น่าตกใจ! ระดับน้ำภายในเขื่อนต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมา มองเห็นพื้นดินโพล่ขึ้นมาหลายๆจุด คำถาม?…เกษตรกรอย่างเราๆเตรียมตัวหรือวางแผนกันไว้หรือยัง เมื่อหมดฤดูฝนแล้ว ภาคเกษตรกรรมที่ต้องอาศัยน้ำจากเขื่อน เดือดร้อนแน่ ปีนี้เจอปัญหาภัยแล้ง ฟันธง!



30 ส.ค. 2556

วัชพืช…พืชผู้สร้างโลก

alt=วัชพืชแห้งตาย ในที่สุดเจ้าวัชพืชก็สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรจนได้ ถึงแม้จะเป็นปัญหาโดยทางอ้อม แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ ว่ามันเชื่อมโยงกัน เมื่อเกษตรใช้ยาเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชในพื้นที่เกษตร ที่ปลูกพืชชนิดหนึ่ง อาจจะส่งผลต่อพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเรามักจะได้ยินเรื่องร้องทุกข์อะไรในทำนองนี้บ่อยๆ อย่างเช่นเมื่อเร็วๆนี้ ข่าวหน้าหนึ่ง ฉีดยาฆ่าหญ้าในไร่อ้อย แล้วน้ำในไร่อ้อยไหลมาลงในนาข้าว ทำให้ข้าวเน่าตาย…เรื่องมันเศร้า

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัชพืช” เกษตรกรอย่างเราๆรู้จักกันดี ซึ่งเจ้าวัชพืชนี้ ถ้าเรามองในด้านบวก วัชพืชก็จะมีประโยชน์ไม่น้อย และในขณะเดียวกัน ถ้าเรามองในด้านลบ ก็จะพบว่าเจ้าวัชพืชนี้ ก็สร้างปัญหาให้กับเกษตรอย่างใหญ่หลวง อาจจะเป็นตัวชี้อนาคตความรวยความจนได้เลย ดังนั้นถ้าเราจะให้ความหมายของวัชพืชแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือพืชอะไรก็ได้ที่ขึ้นผิดที่ผิดทางในพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเจ้าวัชพืช อาจจะทำให้เกิดความเสียหายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แก่เกษตรกรเจ้าของพื้นที่เกษตรกรรมนั้น


19 ก.ค. 2556

ระบบการให้น้ำต้นไม้…ที่ได้จากการเรียนรู้

ระบบให้น้ำ วันนี้เพื่อนบ้านมาหาตั้งแต่เช้า เสียงสุนัขที่เลี้ยงไว้หลายตัว พากันเห่าส่งเสียงดัง แสดง ว่ามีคนเข้ามาที่บริเวณบ้าน ผมแอบมองทางด้านหน้าต่าง ตามที่เสียงสุนัข เห่าต้อนรับ
“สวัสดีพี่ทอน มาตั้งแต่เช้าเชียว”
ผมทักทายด้วยความคุ้นเคย
“เอาต้นอ้อย มาให้”
เสียงของพี่ทอน ตอบกลับ พร้อมกับยื่นต้นอ้อย มาให้ผม
“ขอบคุณครับ แล้วพี่ทอน ยังไม่ปล่อยวัวอีกเหรอ ขี้วัวแห้งหรือยัง”
ผมขอขี้วัว แกไว้ตั้งนานแล้ว ตั้งแต่หน้าฝน กะว่าจะนำมาหมักทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย
“แห้งแล้ว พี่ไม่มีเวลา เอาขี้วัวใส่ถุง มาให้เลย”
“ไม่เป็นไรครับ ว่างเมื่อไหร่ ผมจะไปเอาเอง”
“แวะเข้าไปเอาขี้วัวได้เลยนะ”
ผมกับพี่ทอน ใช้เวลาคุยกันไม่นานนัก เพราะว่าพี่แก ต้องไปปล่อยวัว ให้ไปกินหญ้า หลังจากที่ พี่ทอน กลับไปแล้ว ผมก็ดำเนินการตัดแต่งต้นอ้อย พร้อมกับเตรียมจอม สำหรับขุดดิน ผมเลือกเอาบริเวณใกล้ๆโอ่งน้ำ ใกล้มือหน่อย จะได้ไม่ลืมให้น้ำทุกวัน

พูดถึงเรื่องการทำระบบให้น้ำต้นไม้ที่เราปลูก วันนี้ผมตั้งใจว่าจะไปปรับระบบการให้น้ำต้นมะกรูดสักหน่อย เมื่อหลายเดือนก่อน ผมติดตั้งระบบการให้น้ำต้นมะกรูด ที่สูบน้ำขึ้นมาโดยตรง จากบ่อบาดาล ด้วยความที่เราไม่มีความรู้ความเข้าใจ ของการนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ โดยไม่ผ่านการพักน้ำไว้ก่อน ผลที่ตามมา เกิดตะกอนหินปูนที่ท่อรองประธาน และที่หัวมินิสปริงเกลอร์ ทำให้ตะกอนหินปูนอุดตันบ่อย แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้น น้ำที่มีส่วนผสมของหินปูน มันจะไปเกาะที่ใบ ลำต้นของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้นั้น เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร การเจริญเติบโตของต้นไม้อาจจะหยุดชะงัก

ผมต้องเปลี่ยนระบบการให้น้ำ แก่ต้นไม้ใหม่ โดยวิธีการสูบน้ำจากบ่อบาดาล ขึ้นมาเก็บไว้ที่ถังพักน้ำไว้ก่อน  ถังพักน้ำที่ทำด้วยวงซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตร จำนวน 9 ชั้น จำนวน 2 ถัง พร้อมกับแก้ไขระบบท่อน้ำใหม่ จากนั้นก็ได้ทดลองการปล่อยน้ำ เพื่อทดสอบ แรงดันของน้ำปรากฏว่า แรงดันของน้ำ น้อยกว่าระบบการให้น้ำที่สูบจากบ่อบาดาล แล้วปล่อยน้ำให้ต้นไม้โดยตรง


12 ก.ค. 2556

การปลูกไผ่ตงลืมแล้งให้รอดตาย

alt=กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง การที่จะปลูกไผ่ตงลืมแล้งหรือไผ่กิมซุ่ง ให้รอดตายหรือให้เติบใหญ่ จนสามารถสร้างรายได้ในอนาคตนั้น เป็นเรื่องง่ายๆที่ใครๆก็สามารถจะทำได้ เพียงแต่ต้องเรียนรู้ถึงธรรมชาติของไผ่ชนิดนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือปลูกอย่างจริงจัง

วันนี้ว่างเว้นจากการเตรียมการปลูกผักหวานป่าโครงการ 3 โดยสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากจังหวัดตาก ในราคาเมล็ดละ 1บาท จำนวน 500 เมล็ด อัตราการงอกร้อยละ 80 ก็ถือว่าไม่เลว โอกาสหน้าก็จะนำมาเขียนบทความลงให้อ่านกันต่อไป

กลับมาที่เรื่องการปลูกไผ่ตงลืมแล้งให้รอดกันดีกว่า ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่มีต้นกำเนิดต่างประเทศ ที่นำมาปลูกแล้วสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศของประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นไผ่เศรษฐกิจตัวหนึ่ง ที่คนไทยนิยมนำมาปลูกเพื่อการค้า จนสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ใครที่ปลูกก่อนๆ โดยเฉพาะกิ่งพันธุ์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง สร้างกระแสจนต้องแห่ตามกัน คนขายพันธุ์ก็รวยไป


21 มิ.ย. 2556

ฝูงนก…ชุมนุมงานเลี้ยงอาหารสดๆ

alt=นกนักล่า ฝูงนกสีขาวบินวน อยู่เหนือหลังคารถไถ ในขณะที่ผมกำลังไถดิน ซึ่งอันที่จริงเป็นการไถต้นพริกที่ดูแลไม่ดี เลยโดนแมลงและโรคเล่นงาน เอาไม่ทัน เสียดาย เสียดาย ประกอบกับหญ้าที่ขึ้นแซงต้นพริก กำลังออกดอก ออกเมล็ด ที่พร้อมจะขยายพันธ์ งามได้งามดีนะเจ้าวัชพืช พืชใบเขียวๆที่เกษตรกรทุกคนไม่ต้องการ วัชพืชผู้ครองโลก

แปลกแต่จริง เวลาที่เราไถดินแต่ละรอบๆ จะมีอาหารสดๆ ตัวเป็นๆให้หม่ำ ไม่ว่าจะเป็นแมลง ตั๊กแตน หนูหริ่ง หนอน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นอาหารชั้นยอด และอร่อยๆทั้งนั้น พูดแล้วน้ำลายหก นกบางตัววิ่งไล่แมลง จิ้งหรีด ตั๊กแตน หรือแม้แต่ไส้เดือนตัวเล็กๆ นกบางตัวก็เลือกที่จะคอยจิกเอาเจ้าหนูหริ่งผู้โชคร้าย งานนี้ทำเอา เจ้านกหลายสิบตัว พากันกินอิ่มไปตามๆกัน

นกที่มาร่วมงานเลี้ยง ก็จะมีตั้งแต่นกขนสีขาว น้องๆนกกระยาง ไม่รู้ชื่อ บางตัวแพงคอสีขาว และบางตัวแพงคอสีส้ม จำนวนก็ประมาณสักสิบกว่าตัว นอกจากนี้ยังมีนกเอี้ยง ที่เราคุ้นเคยดี นกกระปูดตาแดงก็มากับเขาด้วย ไล่บินไล่จิกเหยื่อที่กำลังหนีตาย กระโดดปุ๊บงาบปั๊บ บินปุ๊บจิกปั๊บ บินเก่งแค่ไหน วิ่งเร็วปานใด ก็รอดยาก นกแต่ละตัวล้วนแต่เป็นนักล่ามืออาชีพ เป็นนักล่าขั้นเทพ

นี้คงจะเป็นผลพลอยได้ จากการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ ที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี เข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนการผลิต ห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติจึงมีอย่างสมบูรณ์ สมดุลกันอย่างลงตัว เป็นการควบคุมวงจรชีวิตกันเองได้อย่างพอดี แมลงกินแมลง สัตว์ใหญ่กินสัตว์น้อย ผู้แข็งแกร่งอยู่เหนือผู้อ่อนแอ


4 มิ.ย. 2556

เมล็ดสะเดา…กำจัดสารพัดแมลง

alt=เมล็ดสะเดาแก่
ถ้าพูดถึงสะเดา หลายๆคนที่รู้จักพืชชนิดนี้ มักจะจดจำและรู้จักแต่ในเรื่องของรสชาติของยอดและดอกสะเดา สะเดาน้ำปลาหวาน สะเดายอดขมๆ และสะเดายอดมันๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ ว่าต้นไม้ที่ชื่อสะเดานี้ มีคุณประโยชน์ ต่อเกษตรกรที่มีแนวทางการปลูกพืชผักผลไม้ แบบไม่ต้องพึ่งสารเคมี

สะเดาจึงเป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยวิธีการสกัดจากส่วนของใบ และเมล็ด ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ต่อต้านการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโต ป้องกันและกำจัดแมลงได้หลายชนิด เช่นด้วงหมัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอ หนอนกอสีครีม หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก ด้วงเต่าฟักทอง หนอนใยกะหล่ำ


8 พ.ค. 2556

การปลูกผักหวานป่าในรอบปีที่ผ่านมา ตอนที่ 2

alt=สวนผักหวานป่า
ตั้งใจว่าจะเขียนบทสรุปของการปลูกผักหวานป่าในรอบปีที่ผ่านมา ให้เสร็จแต่มีอันต้องล่าช้า เพราะว่าต้องไปจัดเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกพริก เอากับเขาบ้าง อยากจะลองปลูกพริกดู และตั้งใจจะปลูกพริกอินทรีย์ให้ปลอดจากสารพิษ ไม่รู้จะทำได้ดีแค่ไหน วันหน้าจะนำมาเขียนบทสรุปให้อ่านกัน

จากบทความการปลูกผักหวานป่าในรอบปีที่ผ่านมา ตอนที่ 1 กะว่าจะนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการเรียนรู้ภาคสนาม ที่ได้จดบันทึก เพื่อสำหรับไว้ศึกษา ในการที่จะปลูกผกหวานป่าในรุ่นต่อๆไป มีหลายเรื่องที่ไม่สามารถหาอ่านได้ แม้กระทั้งเรื่องเล็กๆน้อยๆ ที่หลายคนมองข้ามไป รวมถึงข้อห้าม(ส่วนตัว) ที่ได้พบเจอ

แปลงที่ปลูกผักหวานป่า เป็นพื้นที่เคยปลูกไผ่เลี้ยงหวานมาก่อน มีเนื้อที่กว้างประมาณ 14 เมตร ยาวประมาณ 40 เมตร ด้านซ้ายติดแปลงปลูกไม้ยูคา ด้านขวาติดสวนไผ่กิมซุ่ง(ตงลืมแล้ง) ระยะของการปลูกผักหวานป่าใช้แบบระยะประชิดคือ แถวกว้าง 2เมตร ระหว่างต้น 1.5 เมตร ซึ่งปลูกทั้งสิ้นจำนวน 7 แถว จำนวน 115 หลุม ปลูกหลุมละ 2 ต้น

ครั้งนี้ถือว่าเป็นการปลูกผักหวานป่าโครงการที่ 2 ซึ่งปลูกโดยนำเมล็ดมาเพาะแล้วใส่เมล็ดที่พร้อมจะงอกจำนวน 2 เมล็ดต่อหนึ่งถุงเพาะ หยอดเมล็ดแคแดง 1 เมล็ด และรอจนยอดผักหวานป่าแทงขึ้นมา ถึงเริ่มลงมือปลูกเมล็ดผักหวานป่าในหลุมดินที่เตรียมไว้ลง


16 เม.ย. 2556

การปลูกผักหวานป่าในรอบปีที่ผ่านมา ตอนที่1

alt=ต้นผักหวานป่ากับต้นแคแดง การปลูกผักหวานป่าในรอบปีที่ผ่านมา สถิติและข้อมูลที่น่าสนใจ บางสิ่งที่ไม่ตรงกับ ปราชญ์เกษตรหลายๆท่านและก็มีข้อมูลบางอย่างที่สอดคล้องกับเกษตรกรผู้ปลูกผักหวานป่า ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้จากภาคสนาม จะใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ในการปลูกผักหวานป่าของปีต่อๆไป

ข้อมูลของการปลูกผักหวานป่าที่ได้ผ่านการศึกษาและเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง พอที่จะสรุปได้ดังนี้
· ปลายเดือนมีนาคม 2555 เมล็ดผักหวานป่า จำนวน 229 เมล็ด จากป่าบนภูเขาที่อยู่ใกล้ไร่กาญจนา เมล็ดมีสีเหลืองประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
· นำเมล็ดผักหวานป่าทั้งหมดมาบ่มเพื่อให้เปลือกอ่อนนุ่ม จำนวน 5 วัน
· แกะเปลือกเมล็ดผักหวานป่าด้วยมือล้วนๆแช่น้ำที่มีทราย แล้วใช้มือขยี้เมล็ดผักหวานป่าพร้อมกับเมล็ดทรายอีกครั้ง เพื่อให้ทรายช่วยขัดเปลือกของเมล็ดผักหวานป่า อีกรอบ
· เมื่อขัดเมล็ดผักหวานป่า จนเปลือกหลุดจนหมดแล้ว นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งลมในที่ร่ม จนแห้งสนิท
· นำเมล็ดผักหวานป่าที่ผึ่งลมจนแห้ง ไปแช่น้ำเปล่า เพื่อทดสอบความสมบูรณ์ของเมล็ด เมล็ดที่จมน้ำจะมีความสมบูรณ์ อัตราการงอกสูง ให้แช่น้ำยาเร่งราก ประมาณ 30 นาที ส่วนเมล็ดที่ลอยน้ำ ให้นำไปแช่น้ำยาเร่งราก สักประมาณ 60 นาที(ขั้นตอนนี้เมื่อปีแล้ว น่าตกใจ เมล็ดผักหวานป่า จำนวน 229 เมล็ด เมล็ดที่จมน้ำ จำนวน 179 เมล็ด เมล็ดที่ลอยน้ำ จำนวน 50 เมล็ด)

7 เม.ย. 2556

ตอไผ่เลี้ยงหวานกับราสีส้ม

ราสีส้มบนต่อไม้ไผ่ หลังจากที่ได้ตัดกอไผ่เลี้ยงหวานจำนวนหลายสิบกอ เพื่อปรับพื้นที่บริเวณนี้สำหรับที่จะปลูกผักหวานป่า อันที่จริงผมได้ปลูกผักหวานป่า จำนวนร้อยกว่าต้น เมื่อปีที่แล้วและอยู่รอดปลอดภัยเติบโตตามวัย มาจนถึงวันนี้ก็สักประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นไม่งอกจากเมล็ด ไม่โตและเปลี่ยนใบจากสีเขียวเป็นใบสีขาว และต้นตายเมื่องอกจากเมล็ดได้ไม่นาน

พื้นที่ตรงบริเวณนี้เคยเป็นไร่มันสำปะหลังมาก่อน และก่อนหน้านั้นก็เคยปลูกทานตะวัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชอีกหลายชนิด เกษตรกรก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ ยิ่งปลูกยิ่งจนทั้งที่พืชบางชนิดเป็นพืชเศรษฐกิจ และสามารถสร้างความรวยและความจนไปพร้อมๆกัน ถ้าการบริหารจัดการที่ดี ราคาขึ้นๆลงๆ ของพืชแต่ละชนิด ตามความต้องการของตลาดและตามความต้องการของเกษตรกร(อยากปลูก) แห่พากันปลูกมาก ราคาพืชผลก็จะแปรผันไปด้วย

นี้ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผล ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากที่เคยปลูกพืชไร่ มาหลายสิบปี จนดินสำหรับเพาะปลูกแข็งกระด้าง แร่ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชลดลง ยิ่งปลูกรายได้ยิ่งลด ตรงกันข้ามกับราคาปุ๋ยที่มีแต่จะสูงขึ้น ราคายาปราบศัตรูพืชก็เช่นกัน แถมยังเป็นภัยกับตัวเกษตรกรอีกด้วย

ระยะเวลา 5-10 ปีมานี้ มีพืชที่นิยมปลูกตามกระแส ไม่ว่าจะเป็นการปลูกไผ่เพื่อขายหน่อ ผมเองก็เอากับเขาด้วยปลูกไผ่เลี้ยงหวานจำนวน 40 กอ เพื่อขายหน่อและเพื่อตัดลำไว้ใช้งาน ปลูกไผ่หม่าจู จำนวน 50 กอ และปลูกไผ่กิมซุ่งหรือไผ่ตงลืมแล้ง ประมาณ 200 กว่ากอ ปัจจุบันไผ่กิมซุ่งให้ผลผลิตแล้ว ไผ่หม่าจูก็กำลังดูแลยังไม่เร่งขายหน่อ ส่วนไผ่เลี้ยงหวานได้ตัดกอไผ่ทั้งหมด เพื่อปรับเปลี่ยนปลูกผักหวานป่า ซึ่งก็ได้ปลูกไปบ้างแล้วเมื่อปีก่อน ส่วนปีนี้กำลังปรับเปลี่ยนเพื่อจะปลูกผักหวานป่า อีกสัก 500 ต้น


30 มี.ค. 2556

แคป่าแฝดคนละฝากับแคบ้าน

ดอกแคป่า แคป่าแคบ้าน ถ้าไม่เคยเห็นไม่เคยกิน คงจะไม่รู้ถึงความแตกต่าง ความแตกต่างที่เราต้องทำหน้างงๆๆ รูปร่างของดอก ลำต้น แม้กระทั่งใบ แต่เหตุไฉน ถึงเรียกชื่อให้ใกล้เคียงกัน

แคป่า คือชื่อที่เรียกประจำท้องถิ่น ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ ก็คือ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem. อยู่ในวงศ์ BIGNONIACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นตรงมักแตกกิ่งต่ำ

ลักษณะทั่วไปของแคป่า เปลือกเป็นสีน้ำตาล อมเทาและมีประสีดำขาว เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ทั่วไป เปลือกในสีนวลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ค่อนข้างทึบกิ่งอ่อน เกลี้ยง มีช่องระบายอากาศทั่วไปกิ่งแห้งออกสีดำ

ลักษณะของใบแคป่า เป็นช่อ ช่อใบติดตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ช่อใบรูปขนนก ยาว 12-35 ซม. ใบช่อหนึ่งๆ มีใบย่อยรูปรีหรือ รูปรีแกมรูปไข่กลับ 3-7 ใบ ใบย่อยจะติดตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนปลายสุดของช่อใบจะเป็นใบเดี่ยวๆ ยาว 5-10 ซม. กว้าง 3-5 ซม. โคนใบสอบและเบี้ยว ปลายใบสอบเรียวแหลม เนื้อใบบางเกลี้ยง เส้นแขนงใบมี 5-7 คู่ มีตุ่มหูดรูปรีๆ ตามยาว เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบทางด้านท้องใบ ขอบใบหยักตื้นๆ หรือเรียบ ก้านใบย่อยยาว 1-3 ซม.


28 มี.ค. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอน การตัดแต่งกิ่งเพื่อกระตุ้นให้แตกยอดอ่อน

ผักหวานป่าแตกยอด ประสบการณ์ ในการปลูกผักหวานป่า 3 ปีที่ผ่านมา สามารถบอกได้เต็มปากเต็มคำ การปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด รอดตายมากที่สุด ต้องปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ดเท่านั้น ความแตกต่างของการปลูกผักหวานป่าด้วยกิ่งตอนและเมล็ดพันธุ์ ที่เห็นได้ชัด นั้นก็เรื่องของราคา กิ่งตอนราคาอยู่ราวๆ 200-300 บาท ขณะที่เมล็ดพันธ์ ราคาอยู่ประมาณเมล็ดละ 2-3 บาท และถ้าเป็นต้นกล้าที่อยู่ในถุงเพาะราคาประมาณ15-25 บาท

การปลูกผักหวานป่าด้วยกิ่งตอน ใช้เวลา 1-2 ปี ก็จะสามารถเก็บยอดขายได้ แต่อย่าลืม ราคากิ่งพันธ์ 200-300 บาทใช้เงินทุนไม่น้อย และถ้าจะปลูกเพื่อการค้าก็ต้องปลูกเป็นจำนวนมาก ขณะที่การปลูกผักหวานป่าด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ถ้าศึกษาเรียนรู้อย่างถูกวิธี จะเป็นการขยายพันธุ์ที่ใช้ต้นทุนต่ำ อัตราการรอดตายมากที่สุด และที่สำคัญการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีที่ได้รากแก้วและระบบรากที่สมบูรณ์ ถึงแม้นว่าจะต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 3-4 ปี ถึงจะสามารถเก็บยอดขายได้

ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักหวานป่าด้วยวิธีการปลูกด้วยกิ่งตอน หรือปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ก็ตาม ถ้าปลูกเพื่อเก็บยอดขาย เราก็จะต้องมีวิธีการที่จะทำให้ต้นผักหวานป่า แตกกิ่งแตกยอดเป็นจำนวนมากๆในจำนวน 1 ต้น เมื่อมีหลายต้น หลายร้อยต้น แน่ละผลผลิตก็ย่อมมากขึ้น มียอดให้เก็บมากขึ้น รายได้ก็ย่อมจะได้มากขึ้นเช่นกัน


22 มี.ค. 2556

การปลูกต้นผักหวานป่า ตอน การดูแลต้นผักหวานป่าแบบง่ายๆแต่ได้ผล

การดูแลต้นผักหวานป่า การดูแลต้นผักหวานป่า ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ก็เริ่มตั้งแต่การนำเมล็ดต้นผักหวานป่า ไปปลูกลงในหลุมดิน หรือปลูกในถุงเพาะ อย่างแรกก็ต้องหมั่นรดน้ำ อย่าให้ดินบริเวณหลุมหรือถุงเพาะแห้งเป็นอันขาด ระยะนี้รากของต้นผักหวานป่ากำลังแทงรากลงไปในดินในระดับแนวดิ่ง อาจจะใช้เวลาหลายวัน และอาจจะนานเป็นเดือน และเมื่อรากลงลึกในระดับหนึ่งแล้ว ต้นผักหวานป่าก็จะแทงยอดพ้นดินขึ้นมาให้เห็น

ถ้าเราปลูกต้นผักหวานป่า จำนวนมากๆ และหลังจากที่ต้นผักหวานป่าเริ่มแทงยอดพ้นดินขึ้นมาแล้ว หลุมไหนหรือถุงเพาะถุงไหนยังไม่เห็นยอดต้นผักหวานป่า แทงยอดขึ้นมาอย่าเพิ่งรีบทิ้ง ให้ดูแลต่อไปอีกระยะหนึ่ง บางที่อาจจะมีต้นผักหวานป่าหลงแทงยอดขึ้นมาให้เห็นได้อีก ดูแลรดน้ำต่อไปตามปกติ

การปลูกต้นผักหวานป่าภายใต้ร่มเงาของไม้พี่เลี้ยง น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นการให้ต้นไม้ดูแลกันเอง ตามกลไกของธรรมชาติ และธรรมชาติของต้นผักหวานป่าเอง กว่าที่จะเอาตัวรอดได้ อาจจะใช้เวลา 2-3 ปี ลองนึกภาพดูถ้าเราปลูกต้นผักหวานป่าโดยไม่พึ่งไม้พี่เลี้ยง โดยใช้วิธีการสร้างตาข่ายล้อม หรือใช้ตะกร้าครอบไว้ ต้นผักหวานป่าโตขึ้นทุกวัน และใหญ่ขึ้นทุกเดือน เราก็จะต้องเปลี่ยน ภาชนะบ่อยๆ สิ้นเปลืองรายจ่ายโดยไม่จำเป็น

การดูแลต้นผักหวานป่าในระบบนิเวศ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบธรรมชาติ นั้นไม่ยุ่งยาก ให้น้ำให้ปุ๋ยตามกำหนดเวลา เมื่อมีแมลงหรือหนอนผีเสื้อมากัดกินยอดและใบของต้นผักหวานป่า ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาไล่แมลง เพราะว่าแมลงหรือหนอนผีเสื้อ กำลังตัดแต่งต้นผักหวานป่า ให้แตกกิ่งแตกยอด ขึ้นมาเองโดยไม่ต้องเหนื่อย


10 มี.ค. 2556

ศัตรูตัวเอกของมะกรูด

alt=หนอนกินใบมะกรูด ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวชมสวนมะกรูดในพื้นที่แห่งหนึ่ง ต้นมะกรูดจำนวนหลายร้อยต้น ในพื้นที่จำนวนสิบๆไร่ ภาพที่เห็น ต้นมะกรูดสูงราวๆ1ฟุต กำลังแตกยอดแตกกิ่ง ตื่นเต้นไปกับเกษตรกรชาวสวน ไม่น่าเชื่อว่าพืชที่เราพบเห็นอยู่ทั่วๆไปของประเทศไทย จะสามารถทำเงินให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้ ใช่แล้วครับเรากำลังพูดถึงการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า กลับจากการที่ได้ไปเที่ยวชมสวนมะกรูด ผมก็ค้นคว้าหาข้อมูลกันยกใหญ่ การปลูกมะกรูดเพื่อการค้าเป็นพืชที่น่าสนใจ วินาทีนั้นผมตัดสินใจที่จะปลูกมะกรูดเพื่อขายใบขายลูกกับเขาบ้าง

มะกรูด จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ของอินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย คาบสมุทรมลายูและฟิลิปปินส์ เป็นต้น มะกรูด มีชื่อเรียกอื่นๆในประเทศไทยอีกจำนวนมากของแต่ละพื้นที่ เช่น มะขุน มะขูด มะขู ส้มกรูด ส้มมั่วผี ฯลฯมะกรูดเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในเครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอางน้ำมันหอมระเหย หรือจะผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย

และในทางการแพทย์ไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้แก้อาการจุกเสียด


8 มี.ค. 2556

ปลูกฟักแฟง ,,,ให้ติดผลง่ายนิดเดียว

alt=ฟักแฟง
การที่จะลงมือปลูกฟักแฟง สักต้นสองต้น นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่การที่จะปลูกฟักแฟง สักต้นสองต้น แล้วมีดอกมีผล ให้ได้กินได้ทานกัน นี้ซิเป็นเรื่องน่าคิด มีคนหลายๆคนที่ปลูกฟักแฟงแล้ว มีแต่ดอกไม่มีผล ใส่ปุ๋ยให้น้ำกันอย่างเต็มที่ ต้นฟักแฟงเองก็งามจนมีดอกมากมาย แต่ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของฟักแฟง เรียนรู้และลงมือปฏิบัติ บวกกับเทคนิคนอกตำราเรียนเพิ่มเติม แค่นี้แหละรับรองปลูกฟักแฟง หนึ่งต้น ร้อยต้น มีผลให้ได้กิน แน่นอน

ฟักเขียว หรือ ฟักแฟง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Benincasa hispida; อังกฤษ: winter melon) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฟัก" เป็นผักพื้นบ้านพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาตระกูลแตงลำ ใบสีเขียวลักษณะหยักหยาบ ดอกมีสีเหลือง ผลกลมยาวมีนวลขาว ปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้

ฟักแฟง หรือ ฟักเขียว ในประเทศไทยมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างกันไป เช่น ภาคเหนือ - ฟักขี้หมู, ฟักจิง, มะฟักขม, มะฟักหม่น, มะฟักหม่นขม ,ภาคอีสาน - บักฟัง ,ภาคกลาง - ฟักขาว, ฟักเขียว, ฟักจีน, แฟง , ภาคใต้ - ขี้พร้า ,แม่ฮ่องสอน - มะฟักหอม ,ชาวกะเหรี่ยง/แม่ฮ่องสอน - ดีหมือ, ลุ่เค้ส่า ,จีนแต้จิ๋ว - ตังกวย, ตี่จือ


5 มี.ค. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอน ใบผักหวานป่าสีขาว

alt=ผักหวานป่าใบขาว
เมื่อปีก่อน ผมได้ซื้อเมล็ดผักหวานป่า จำนวน 200 กว่าเมล็ด มาเพาะและปลูกที่ไร่ เมื่อต้นผักหวานป่างอกและเจริญเติบไปได้ สองสามเดือน มีความผิดปกติของใบผักหวานป่า ที่เพาะจากเมล็ด จำนวนสิบกว่าต้นคือ มีสีของใบไม่เหมือนใบไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไป จากใบสีเขียวกลายมาเป็นใบสีขาว ไม่ใช่แค่ใบเดียว แต่เป็นทั้งต้น

ใบไม้เปลี่ยนสี คงจะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกมากนัก เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนไปตามหลักของธรรมชาติ ที่พบเห็นบ่อยๆ คือการเปลี่ยนจากใบไม้ที่มีสีเขียว เปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองอ่อน สีส้ม และสีน้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ใบไม้ที่เปลี่ยนสีเหล่านี้ จะกลายเป็นใบไม้แห้ง และร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดิน

“สีเขียวของใบไม้เกิดขึ้นเนื่องมาจากสารสีคลอโรฟิลล์ พบอยู่ในคลอโรพลาสต์ (chloroplast) ซึ่งมี โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆ มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylacoid) และบนไทลาคอยด์ นี้เองที่มี คลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ในการรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการสร้างอาหาร ของ พืชด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งกระบวนการสร้างอาหารของพืชจะเกิดขึ้น บริเวณส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช เช่น ใบ


28 ก.พ. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอน ไม้พี่เลี้ยงถูกหนอนผีเสื้อกัดกิน

alt=หนอนกินใบแค
เมื่อเราต้องการปลูกผักหวานป่า เราก็ย่อมที่จะปลูกไม้พี่เลี้ยง ควบคู่กันไป ส่วนการที่จะปลูกไม้พี่เลี้ยงก่อนต้นผักหวานป่า หรือจะปลูกพร้อมกับต้นผักหวานป่า ก็ขึ้นกับว่า เราจะเลือกต้นไม้ชนิดไหน ให้เป็นไม้พี่เลี้ยงของต้นผักหวานป่าดี

ถ้าเราเลือกต้นแคบ้าน เพื่อที่จะปลูกไว้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้กับต้นผักหวานป่า เราก็จะต้องเรียนรู้ถึง จุดอ่อนจุดแข็งของต้นแค ว่ามีอะไรบ้าง การรู้ถึงข้อดีข้อเสียของพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเสียก่อน เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้น ก็ย่อมที่จะมีทางออก และแก้ปัญหาได้

ข้อดีหรือจุดแข็งของต้นแคบ้าน สามารถปลูกพร้อมๆกับเมล็ดต้นผักหวานป่าได้เลย เพราะว่าปลูกง่าย โตไว ต้นแคเป็นพืชตระกูลถั่ว จะช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนไว้ที่ปลายราก ดังนั้นถ้าเราปลูกต้นผักหวานป่าไว้ในบริเวณใกล้ๆ หรือปลูกไว้ในหลุมเดียวกัน ต้นผักหวานป่า ก็จะดึงเอาธาตุไนโตรเจนที่อยู่ปลายรากของต้นแค ไปใช้ นอกจากนี้ ต้นผักหวานป่า ที่ยังเล็กอยู่ก็จะอาศัยดูดน้ำ จากบริเวณโคนต้นต้นแคอีกด้วย


26 ก.พ. 2556

การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

alt=จุลินทรีย์หน่อกล้วย
จากบทความเรื่อง “กล้วยน้ำว้าล้มทั้งยืน เมื่อสายลมหนาวพัดผ่าน” ที่ได้เขียนไว้เมื่อครั้งก่อน ทำให้เกิดความคิดในการต่อยอด เพื่อไม่ให้การล้มของกล้วยน้ำว้าต้องเสียเปล่า ใช่แล้วครับ ผมได้นำต้นกล้วยน้ำว้า ซึ่งกำลังมีลูกและหัวปลี นำมาทำปุ๋ยจากทุกๆส่วนของกล้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางท่านบางคนอาจจะสงสัยว่า การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยนั้น ทำไมต้องใช้เฉพาะหน่อกล้วย ลำต้นได้ไหม ใบได้ไหม หรือว่าลูกกล้วยและหัวปลีของกล้วยได้ไหม

การนำกล้วยไปปลูกในพื้นที่สวนพื้นที่ไร่ สภาพของดินก่อนปลูกและหลังปลูกจะเปลี่ยนไป เมื่อปลูกกล้วยไปได้ในระยะหนึ่ง ถ้าลองสังเกตุดู จะพบว่าดินรอบๆกอกล้วยมีความร่วนซุยขึ้น อุ้มน้ำมากขึ้น ถ้าขุดดินลงไปอาจจะพบไส้เดือนที่มาหาอาหารและมาอาศัยอยู่ ไส้เดือนนี้จะกินและถ่ายมูล อาจจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

กล้วยเป็นพืชที่สะสมน้ำ คนสมัยก่อนจึงมักจะปลูกชนิดอื่นไว้ใกล้กอกล้วย เพื่อให้กล้วยช่วยเลี้ยง จนกว่าต้นไม้นั้นจะโตพอที่จะหาน้ำเองได้เมื่อถึงเวลาจำเป็น และที่สำคัญความชื่นที่อยู่รอบๆกอกล้วยยังมีสิ่งชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าจุลินทรีย์มาอาศัยและช่วยสร้างผลประโยชน์ให้ ช่วยปรับปรุงดินจากดินที่ไม่มีชีวิตให้พื้นคืนชีพอีกครั้ง


22 ก.พ. 2556

น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก

alt=ฮอร์โมนผลไม้
มะละกอสุกที่สวนเกษตร มักจะมีขโมยสี่ขาแอบมากินก่อน กระรอกสีขาวตื่นตั้งแต่เช้าแอบย่องมา ก่อนที่เราจะตื่นจากที่นอนเสียอีก ร้ายจริงๆ แต่ก็ยังมีบางต้นและบางลูกที่กระรอกไม่สามารถขึ้นไปกินลูกมะละกอสุกได้ เลยได้โอกาสนำมะละกอลูกที่กำลังสุกไปทำน้ำหมักชีวภาพ…ขอบใจนะ กระรอกน้อย ที่เหลือไว้ให้

น้ำหมักชีวภาพ จากผลไม้สุก เราเพียงแต่นำผลไม้สุกที่เราปลูกไว้ในสวนเกษตร นำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด ที่สวนเกษตร ผมมักที่จะเก็บผลมะละกอสุก จากต้นที่อยู่ท้ายสวน เจ้ากระรอกขาวไม่กล้าไป คงจะกลัวเจ้าตูบไล่กัด ก่อนที่จะได้กินมะละกอสุกหวานๆ

การทำเกษตรแบบผสมผสาน ข้อดี เราจะมีพืชหรือผลไม้ ที่สะอาด สด ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และไม่เป็นอันตรายต่อตัวเราเอง ดังนั้นพืชหรือผลไม้ ที่เหลือจากกิน เราก็สามารถที่จะนำพืชหรือผลไม้เหล่านั้นมาทำปุ๋ย ทำฮอร์โมนจากพืช เพื่อนำไปปรับปรุงบำรุงดินภายในสวน ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับพืชเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เร่งดอกเร่งผล ลดค่าใช้จ่ายได้ผลจริงๆ


20 ก.พ. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอน การปลูกไม้พี่เลี้ยง

alt=ไม้พี่เลี้ยง
คำว่าไม้พี่เลี้ยง ซึ่งแปลตรงๆก็คือ ต้นไม้ที่คอยดูแลต้นไม้ที่เราจะนำไปปลูกไว้ใกล้ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ร่มเงา เป็นแหล่งให้น้ำ ให้ปุ๋ย ดังนั้นต้นไม้พี่เลี้ยงของผักหวานป่า ก็คือต้นไม้ที่ปลูกไว้สำหรับคอยช่วยเหลือให้ต้นผักหวานป่า ได้อาศัยร่มเงา ได้อาศัยซึมซับแหล่งน้ำ ซึมซับธาตุอาหารจากปลายรากของต้นไม้พี่เลี้ยง เพื่อให้ต้นผักหวานป่าได้ดำรงชีวิตและเจริญเติบโต ไปได้ในระยะหนึ่งก่อน

ต้นไม้พี่เลี้ยงของผักหวานป่า มีหลายชนิดหลายพันธุ์ จากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ ได้ศึกษาและเรียนรู้มาก่อน มักจะนิยมปลูกต้นมะขามเทศ หรือต้นแค มากกว่าที่จะเลือกปลูกต้นไม้ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น ต้นชะอม ต้นสะเดา ต้นตะขบ ฯลฯ

ต้นไม้พี่เลี้ยงแต่ละชนิดมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน ต้นมะขามเทศ เป็นไม้ตระกูลถั่ว ที่ปลายรากจะมีธาตุไนโตรเจน ที่จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี แต่ต้นมะขามเทศ ก็มีจุดด้อยที่ซ้อนอยู่ในจุดเด่น นั้นก็คือเมื่อเราปลูกไปได้ 2-3 ปี ต้นมะขามเทศ จะยู่โตเร็ว รากจะมีขนาดใหญ่ เมื่อต้นผักหวานป่า สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยไม้พี่เลี้ยง และการที่จะต้องตัดเอาไม้มะขามเทศออก นี้เป็นยากเพราะว่าเรามีต้นผักหวานป่า อยู่ภายใต้ร่มเงา


16 ก.พ. 2556

ต้นทานตะวัน อีกร้อยปี อนาคตจะเป็นอย่างไร

alt=ทานตะวันบาน
ย้อนเวลาไปเมื่อสี่ห้าปีก่อน ผมมีโอกาสได้ไปร่วมเปิดงานทุ่งทานตะวันบาน ณ อำเภอแห่งหนึ่ง ของสระบุรี งานครั้งนั้นใช้พื้นที่ปลูกทานตะวันบริเวณกลางหุบเขา จำนวนหลายร้อยไร่ พื้นที่เชิงเขาถูกเนรมิตให้เป็นทะเลสีเหลือง เมื่อมองออกไปสุดสายตา สีเหลืองของดอกทานตะวันสวยงามมาก เมื่อยามที่แสงของดวงตะวัน ตกกระทบกับกลีบสีเหลืองของดอกทานตะวัน

ปัจจุบันประเทศไทยจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แต่ก็เป็นเพียงในระยะสั้นๆ แค่ช่วงปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ผลผลิตที่ได้ พื้นที่ปลูก ไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่าย ราคาของเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูงปัจจุบันพืชชนิดนี้ก็ยังไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจในระดับแนวหน้า อย่างพืชจำพวก อ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั้งข้าวโพด

ทานตะวันเป็นพืชที่ให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอล ที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด แต่ก็น่าแปลกใจ ว่าทำไมทานตะวันถึงไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจชั้นนำเทียบเท่า อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง สักที


12 ก.พ. 2556

กล้วยน้ำว้าล้มทั้งยืน เมื่อสายลมหนาวพัดผ่าน

alt=กล้วยน้ำว้าล้ม
ปลายฤดูฝนที่ผ่านมา กล้วยน้ำว้าที่ปลูกไว้ที่สวนเกษตรกาญจนา อยู่รอดปลอดภัยมาหลายเดือน ทั้งที่ความจริงน่าจะหักล้มจากฤทธิ์ของลมในฤดูฝน เพราะว่าเม็ดฝนมักจะมาพร้อมกับลม ลมก็มักจะพัดและหมุนด้วยความเร็ว จึงทำให้ลมฝนมีความรุนแรง ต้นไม้ที่ขวางทางหักโค่นและทำให้บ้านเรือนที่อยู่ในเส้นทางที่ลมพัดผ่านต้องได้รับความเสียหาย

แต่ที่สวนเกษตรกาญจนา ความเร็วของแรงลมจะลดลง เมื่อต้องพัดผ่านต้นยูคาที่ปลูกไว้ป้องกันลมฝนไว้โดยเฉพาะ และเมื่อลมฝนพัดผ่านต้นยูคามาได้แล้ว ก็จะต้องปะทะกับสวนไผ่หม่าจู ก่อนที่ลมฝนจะประชิดต้นกล้วยน้ำว้า ความแรงของลมฝนที่มาถึงต้นกล้วยน้ำว้า จึงไม่ทำให้ต้นกล้วยน้ำว้า หักล้ม

เมื่อฤดูฝนผ่านไป สายลมที่มาพร้อมกับเม็ดฝน สายลมแห่งความชุ่มช่ำแห่งชีวิตผ่านไป สายลมหนาวก็เข้ามาแทนที่ เส้นทางของลมหนาว ซึ่งตรงกันข้ามของลมฤดูฝนอย่างสิ้นเชิง ลมฝนมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านพัก แต่ต้องพัดผ่านสวนเกษตรมาก่อน ก่อนที่จะถึงตัวบ้านพัก ผิดกับลมหนาวซึ่งจะมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เลยต้องเจอกับบ้านพักเต็มๆ เสียดังเมื่อลมหนาวเข้ามาปะทะ ต้นไม้ใหญ่ที่มีรากยืดดินและแข็งแรง ก็เอาตัวรอดได้ ผิดกับต้นกล้วยน้ำว้า ที่ต้องล้มทั้งยืน


5 ก.พ. 2556

ต้นจิกนาในไร่อ้อย…ไม้สารพัดประโยชน์

alt=ต้นจิกนา
ถ้ามีคนถามว่า รู้จักต้นจิกนาบ้างไหม สำหรับท่านที่เคยกินมาแล้ว ย่อมที่จะบอกได้ว่า ต้นจิกนานั้น มีรสชาติอย่างไร และถ้าถามต่อไปอีกว่า ลักษณะของลำต้นล่ะ ท่านที่เคยปีนป่ายเพื่อเก็บยอด ก็ที่จะบอกลักษณะของลำต้นและแหล่งที่พบเจอได้ไม่ผิดพลาดแน่ แต่ถ้าผมบอกว่าผมเก็บยอดจิกนาจากไร่อ้อย คนทั้งสิบทั้งร้อยจะต้องงงและสงสัยแน่ๆๆ

จิกนาหรืออีกหลายๆชื่อที่เรียกขานตามภูมิภาคท้องถิ่นของไทย อย่างเช่น กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ (หนองคาย) กระโดนสร้อย (พิษณุโลก) จิกนา (ภาคใต้) จิกน้ำ (ภาคกลาง) จิ๊ก (กรุงเทพฯ) ปุยสาย ตอง (เหนือ) ลำไพ่ (อุตรดิตถ์) เป็นต้น เรามักจะพบเห็นต้นจิกนาในพื้นที่ราบชื้น หรือพื้นที่ลุ่มหรือตามริมแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง เป็นเสียส่วนใหญ่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเจอบนพื้นที่ดอน หรือในพื้นที่ ที่ไม่มีน้ำขัง

การที่พบเจอต้นจิกนาในพื้นที่ไร่อ้อยนั้น ไม่ใช่เรื่องความบังเอิญหรือความผิดพลาดของต้นจิกนา ที่มาเลือกเกิดที่นี้ แต่ด้วยสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ย้อนไปสัก 50 ปี เคยเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นหนองน้ำ มีน้ำไหลผ่าน น้ำจากภูเขา แต่ปัจจุบันมีโรงเลี้ยงไก่มาสร้างปิดกั้นเส้นทางน้ำที่ไหลมาจากภูเขา ต้นจิกนาที่อยู่บริเวณนี้เลยกลายพันธุ์ เป็นต้นจิกดอนเสียแล้ว


4 ก.พ. 2556

มดแดง ไข่มดแดง สิ่งแวดล้อมและชีวิตที่พอเพียง

alt=ต้นมะม่วงรังมดแดง …สุดยอดอาหารอีสานคือไข่ มดแดง ต้มยำทำแกงหมกไฟใบตอง แต่พอดี มดตัวน้อยน้อย ออกไข่กลมกลมรีรี มันเป็นของดีมันแซบอีหลีไข่มดแดง ขึ้นกกโกกกหว้า ไปหาแย่ไข่มดแดง…อาหารจากธรรมชาติ อาหารที่ไร้สารพิษ คนอีสานช่างเลือกอาหารชนิดนี้ได้ดีจริงๆ จะด้วยความบังเอิญหรือเป็นความตั้งใจ ไข่มดแดง จึงเป็นอาหารประจำท้องถิ่น ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนสูง

เมื่อก่อน ผมคิดว่าจริงหรือเปล่า ที่มดแดงชอบสร้างรังบนต้นหว้า และจริงหรือเปล่าที่เวลาจะเก็บไข่มดแดง ต้องไปหาแย่ไข่มดแดง เฉพาะที่ต้นหว้าเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว มดแดงชอบที่จะสร้างรังบนต้นไม้ทุกชนิด บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินว่า เกษตรกรสวนมะม่วง มักจะมีปัญหากับมดแดง ที่มาสร้างรังบนต้นมะม่วง

ทำไม มดแดงจึงชอบต้นมะม่วง ด้วยความที่ ต้นมะม่วงมีลักษณะที่เหมาะสม ขนาดใบไม่เล็กหรือใหญ่มากเกินไป ใบไม่หยาบหรือแข็ง มีใบจำนวนมาก ไม่ผลัดใบในช่วงหน้าแล้ง ดังนั้นเราจึงพบเห็นรังมดแดงบนต้นมะม่วง นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ชนิดอื่น ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ต้นมะม่วง เช่น สะเดา ชมพู่ หว้า ลิ้นจี่ ลำไย เงาะ ส้ม ขี้เหล็ก เป็นต้น และต้นไม้ที่มักจะพบรังมดแดงน้อย หรือไม่พบเลย เช่น กระถิน สัก ยางนา ขนุน และไม้ที่ผลัดใบต่างๆ


28 ม.ค. 2556

การปลูกผักหวานป่า ตอนที่3

หลังจากที่เราได้นำเมล็ดผักหวานป่า ที่สุกและสมบูรณ์ คือมีสีเหลืองทั้งเมล็ด ให้นำมาใส่ไว้ในภาชนะที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อที่จะให้เปลือกอ่อนนุ่ม จะสะดวกในการเอาเปลือกและเนื้อออก ถ้าเมล็ดผักหวานป่ามีจำนวนไม่มากนัก ให้ใช้มือ โดยสวมถุงมือเพื่อป้องกันการระคายเคือง แต่ถ้ามีเมล็ดผักหวานป่าจำนวนมากๆ การเอาเนื้อและเปลือกออกโดยการเยียบย่ำ แต่ต้องไม่ลง น้ำหนักมากจะทำให้เมล็ดผักหวานป่าช้ำและเกิดความเสียหายได้ซึ่งจะมีผลต่อ การงอก

หลังจากที่เราเอาเปลือกและเนื้อออกหมดแล้ว ต่อจากนั้นให้นำเมล็ดผักหวานป่า ไปล้างด้วยน้ำเปล่าจนแน่ใจว่าสะอาด เพราะเนื้อผลผักหวานมีรสหวาน เชื้อราชอบ และถ้าเกิดเชื้อราแล้วเมล็ดจะเสื่อมความงอก แล้วจึงนำเมล็ดผักหวานป่า วางเรียงบนกระสอบป่านหรือภาชนะอื่นๆที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี และเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 2-3 วัน ห้ามตากแดดเป็นอันขาด เกลี่ยให้เสมอกันถ้ามีจำนวนมากใช้ซ้อนกันได้ไม่เกิน 3 ชั้น

เมื่อเราตากเมล็ดผักหวานป่า ครบจำนวน 2-3 วันแล้ว ให้นำเมล็ดผักหวานป่า ไปเพาะเมล็ด และก่อนที่จะเพาะให้เราคัดเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ ออกจากเมล็ดที่สมบูรณ์ก่อน โดยวิธีการแบบง่ายๆ นั้นก็คือ นำเมล็ดผักหวานป่าที่ได้ทั้งหมดไปแช่น้ำ แล้วคัดแยกออก โดยนำเมล็ดที่ลอยน้ำใส่ไว้ในภาชนะที่มีน้ำยาเร่งราก ที่มีส่วนผสมของวิตามินบี 1 ประมาณ 30 นาที


25 ม.ค. 2556

จุดอ่อนของไผ่กิมซุ่ง(ตงลืมแล้ง)

alt=ไผ่กิมซุงถอนราก ถ้าพูดถึงจุดเด่นหรือจุดแข็งของไผ่กิมซุ่ง(ไผ่ตงลืมแล้ง)และอีกหลายๆชื่อของไผ่ชนิดนี้ นั้นก็คือ หน่อดก รสชาติดี ไม่ขมมาก หน้าแล้งก็ออกหน่อ ทนน้ำท่วมขังได้นาน ถึง 3เดือน ฯลฯ แต่ใครจะรู้บ้างไหมว่า ไผ่กิมซุ่ง นี้ก็มีจุดอ่อนหรือจุดด้อย เหมือนกันกับไผ่ตงทั่วๆไป

เวลาที่เราไปซื้อกิ่งพันธุ์ไผ่กิมซุ่ง เชื่อเหอะ ร้อยทั้งร้อย ผู้ขายมักจะต้องแนะนำและเชียร์สุดใจขาดดิ้น ไผ่กิมซุ่งนี้นะ ปลูกง่ายโตไว ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ อายุประมาณ 7เดือนเก็บหน่อขายได้ หน่อดก รสชาติหวาน ทำหน่อออกฤดูแล้งราคาดี ตลาดต้องการสูง แค่นี้ก็ตาลุกวาวแล้ว

ผมเองก็ยังต้องซื้อกิ่งพันธุ์ จำนวนหลายสิบกิ่ง ตามคำแนะ ตามคุณสมบัติที่โฆษณา จากผู้ขาย หลังจากที่ผมปลูกไผ่กิมซุ่งได้ ไม่ถึงเดือน กิ่งไผ่เริ่มมีอาการใบเหลือง และเปลี่ยนไปเป็นใบสีขาว ใบร่วงหล่น หลังจากนั้นผมก็ขุดกิ่งไผ่ขึ้นมาดู ก็พบว่า รากไผ่เน่า ซึ่งในตอนนั้นผมไม่รู้และไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง

ดินที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่ จริงๆแล้วเราสามารถปลูกไผ่ได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงดินที่มีน้ำท่วมถึง และขังเป็นเวลานาน พื้นที่มีการระบายน้ำไม่ดี โดยเฉพาะพื้นที่มีสภาพเป็นดินเหนียว ดังนั้นถ้าเราปลูกในสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ กอไผ่ก็ย่อมที่จะเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ไผ่มีหน่อดกและขนาดใหญ่


22 ม.ค. 2556

สะเดาน้ำปลาหวาน สุดยอด สะเดาน้ำพริกป่น สุดแซบ

alt=ดอกสะเดา
ทำไมสะเดาจึงมันและทำไมสะเดาจึงขม อันที่จริงรสชาติของสะเดาทั้งสองชนิด ไม่แตกต่างกันมากนัก หลายๆท่านที่ชอบกินสะเดา ก็มักจะเลือกการกินสะเดา กับน้ำปลาหวานใส่กุ้งเผา และก็กินกับปลาดุกย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงความขมของสะเดา ทั้งที่รสชาติความขมของสะเดาถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง

สมัยเด็กๆ ผมมักจะไปเที่ยวบ้านคุณย่า และที่บ้านของคุณย่า จะมีต้นสะเดาอยู่หลายต้น ผมไปหลายครั้งหลายหน ก็ยังไม่มีโอกาสได้ลิ้มลองรสชาติของสะเดาสักที และเมื่อผมเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่หก ก็จะไปกราบลาคุณย่า เพื่อที่จะเดินทางไปเรียนต่อในเมือง คราวนั้นแหละที่ผมได้กินสะเดาเป็นครั้งแรกในชีวิต คำแรกขณะกำลังเคี้ยวสะเดาอยู่ในปาก รสชาติของยอดสะเดา…ขมจะบอกใคร ขมจริงๆๆ

สมัยนั้นไม่รู้หรอกว่า สะเดามันกับสะเดาขม ต่างกันอย่างไร กินกี่ทีกินกี่ครั้ง ก็มีความรู้สึกว่าสะเดานี้ขมจริงๆ ขมอย่างเดียว จะเป็นรองก็แค่ความขมของต้นบอระเพ็ด การกินของคนอีสาน ก็ไม่ได้มีอะไรมากมายนัก น้ำพริกป่น กับ ปลาร้าสับ ใส่ตะไคร้ซอยสักหน่อย แค่นี้ ก็อร่อยแบบติดดิน


17 ม.ค. 2556

ยูคา…ไม้เศรษฐกิจเมื่อวันวาน

alt=ต้นกระดาษ เมื่อหลายปีก่อน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปลูกต้นยูคา ในพื้นที่ว่างเปล่า ไม่ว่าจะเป็นหัวคันนา ริมบ่อน้ำ แม้กระทั้งพื้นที่ไร่พื้นที่สวนรกร้าง ให้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นามว่า “ต้นกระดาษ”ด้วยกลยุทธทางการค้าแบบพื้นๆ รับซื้อผลผลิตในราคารับประกัน…

ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าผมจะมองไปทางไหน เห็นแต่ต้นยูคา ขึ้นเต็มไปหมด โดยเฉพาะตามหัวไร่ ปลายคันนา แน่นอน รัฐส่งเสริมให้ปลูก เราต้องเชื่อ แจกต้นกล้าฟรี โฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่เรื่องดีดี เรายิ่งมั่นใจ…กว่าจะรู้อีกทีก็หลายปีผ่านไป…ตู ไม่น่าปลูกเลย ฮ่าๆๆๆๆ

ผมเองก็เอากับเขาด้วย ปลูกบนพื้นที่ไร่ พื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลัง มาก่อน ก็ปลูกไม่มากไม่น้อย จำนวน 1,000 ต้น เหตุผลหลักๆ ก็คือ ปลูกยูคาแล้วไม่ต้องดูแลมาก ให้น้ำน้อย ให้น้ำมากก็ช่วงเวลาที่ต้นยังเล็กๆ ปุ๋ยก็ไม่ต้องใส่ ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 ปี ขายลำต้นเพื่อส่งโรงงานผลิตกระดาษ ก็ได้เงินใช้ หรือจะตัดลำต้น ตามขนาด แล้ววางขายข้างริมทาง ก็คงจะพอได้เงินบ้าง


15 ม.ค. 2556

ใบไผ่แห้ง…เชื้อไฟแห่งขุนเขา

alt=ใบไผ่แห้ง
ยามค่ำคืนช่วงเวลาข้างแรม 13-14 ค่ำ เป็นช่วงเวลาที่ท้องฟ้าจะมืดมิด ดวงดาวส่องแสงเต็มท้องฟ้า เหมาะสำหรับออกมาส่องดูดวงดาวเพื่อศึกษา…ขณะที่อีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า ยังมีแนวเขา ที่เรียงรายรอบๆๆ บ้านพักในไร่ ทำให้บรรยากาศในตอนกลางคืน เงียบสงบ ทำให้น่ากลัวยิ่งนัก

เมื่อฤดูหนาวมาเยือน อากาศที่นี้จะหนาวเย็น บวกกับมีลมแรง ที่พัดมาเป็นระยะๆ ดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้บนภูเขาทีไร ผมเองก็จะรู้สึกหนาวๆร้อนทุกที บนภูเขาเต็มไปด้วยใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นลงมากองบนพื้นดิน โดยเฉพาะใบไผ่แห้ง จะเป็นเชื้อไฟอย่างดีทีเดียว

เมื่อใดที่มองเห็นแสงไฟบนเนินเขา สว่างเป็นทางยาวหลายสิบเมตร แสงไฟที่เกิดจากไฟไหม้ เป็นภาพที่สวยงาม ถ้ามองเป็นศิลปะ และมองต่างมุม ขณะที่ไฟกำลังไหม้หญ้าจะเกิดเสียงดัง โดยเฉพาะหญ้าที่สูงที่สุด นั้นก็คือต้นไผ่ เสียงจะดังเป็นระยะ สลับกับเสียงระเบิดของกิ่งไผ่ที่ถูกไฟไหม้ เหมือนเสียงดนตรี ที่กำลังขับกล่อมบรรเลง ในยามค่ำคืน ใบไม้แห้ง กิ่งไม้แห้ง หญ้าแห้ง ใบไผ่แห้ง จะถูกเผาจนกลายเป็น ขี้เถ้า และจะถูกลืมเมื่อเวลาผ่านไป


2 ม.ค. 2556

ดอกโสนบานเช้าจริงรึ…

alt=ดอกโสน

ดอกโสนจะบานตอนเช้าจริงหรือเปล่า? ผมมีโอกาสได้ลิ้มลองรสชาติอาหาร ทอดไข่เจียวใส่ดอกโสน สุดยอด มันเข้ากันได้ดีมาก อร่อยอย่าบอกใคร ต้นโสนที่ไร่ภูกาญจน์ จำนวนสองต้น เป็นชนิดดอกใหญ่ ซึ่งเมล็ดโสนอาจจะติดมากับกองดิน ที่ผมสั่งซื้อดินจากทุ่งนา เพื่อสำหรับปลูกผักไว้กิน เลยโชคดีได้ต้นโสน โดยที่ไม่ต้องลงมือปลูกด้วยตัวเอง ซื้อดินแถมต้นโสน…

โสน (อ่านว่า สะโหฺน) ชื่อตามท้องถิ่น โดยทั่วไปเรียก โสน ภาคเหนือเรียก ผักฮองแฮง เป็นพืชใน จีนัส Sesbania เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ สีเหลือง รูปร่างแบบดอกแคหรือดอกถั่ว ในใบมีสารสีเหลืองกลุ่มแคโรทีนอยด์ ใช้แต่งสีเหลืองในขนมหลายชนิด เช่น ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย โดยนำดอกโสนมาบดหรือโม่ผสมกับแป้ง นอกจากนั้น ดอกโสน เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ย่านาง…หลานหน่อไม้

หลายๆท่านที่ชอบทานแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง หรือที่ชาวบ้านชาวช่องเรียกกันว่า แกงต้มเปอะ คนอีสานชอบทานกัน ใครไม่รู้จักส่วนประสมที่ใส่ลงไปในแกงหน่อไม้ ก็คงจะต้องมีการรื้อฟื้นความรู้กันครั้งใหญ่ ผมเองเติบโตมาจากบ้านนอก เป็นลูกอีสานขนานแท้ กินแกงต้มเปอะมาตั้งแต่เด็ก ได้เห็นคุณยายนำใบไม้มาตำ แล้วคั้นเอาน้ำสีเขียวๆ ใส่ลงไปในแกงหน่อไม้ แรกๆเรียกชื่อไม่ถูก ไม่รู้จักหน้าตา ทำไม่เป็นด้วย กว่าจะรู้ และแกงอาหารชนิดนี้เป็น ก็ต้องมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เสียเอง…

ย่านาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อสามัญ : Bamboo grass
วงศ์ : Menispermaceae
ชื่ออื่น : จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

ย่านาง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
คุณประโยชน์ของใบย่านางนั้นอาจจะมีมากมาย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ใบย่านางนั้นมีประโยชน์อย่างไร ผมเองก็เพิ่งจะรู้เมื่อไม่นานมานี้เอง และรู้โดยบังเอิญ ปัจจุบันก็เริ่มศึกษาและสนใจที่จะปลูก ให้เป็นมุมสมุนไพรที่สามารถเก็บใบย่านาง ไปประกอบอาหาร และทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรได้เลย เมื่อเราต้องการ

ย่านาง นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านาง มีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน